นิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดี

 

โรคนิ่วในถุงน้ำดีเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักจะสับสนกับอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร เนื่องจากมีอาการคล้ายกันนิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากการตกผลึกของ คลอเรสเตอรอล และ สาร บิริรูบิน ที่มีอยู่ในน้ำดีมีความไม่สมดุลกันของส่วนประกอบทางเคมี ปัจจัยเสี่ยงพบได้ในผู้หญิงอายุมากกว่า 40 ปี , ภาวะอ้วน หรือ ในผู้ป่วยโรคเลือดบางชนิด

อาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดท้องจุกเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา อาจมีปวดร้าวไปไหล่ หรือ หลังด้านขวา ถ้ามีการอักเสบติดเชื้อของถุงน้ำดีจะทำให้มีไข้ ร่วมกับ ปวดท้องคลื่นไส้อาเจียน หรือ ถ้านิ่วตกลงมาอุดท่อทางเดินน้ำดีอาจทำให้มีภาวะดีซ่านร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัย

สามารถตรวจพบได้จากการทำอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

การรักษา รักษาได้โดยการผ่าตัดมี 2 วิธี

  1. ผ่าตัดแบบเปิด จะใช้ในกรณีถุงน้ำดีมีการอักเสบมากหรือมีภาวะแทรกซ้อนจากการแตกทะลุของถุงน้ำดี
  2. ผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) โดยจะเจาะเป็นแผลเล็กๆ บริเวณสะดือและชายโครงข้างขวาเพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ต่างๆเข้าไปผ่าตัดข้อดีคือ แผลผ่าตัดจะเล็กกว่า เจ็บน้อยกว่าโอกาสแผลผ่าตัดติดเชื้อน้อยกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า ใช้เวลาพักรักษาตัวใน รพ. เพียง 2-3 วัน และ ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติตามเดิมภายใน 1 สัปดาห์