เมื่อพุดถึงโรคหัวใจหลายคนก็คงกลัวกัน เพราะเวลาเป็นแล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และโรคหัวใจยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของโลก ปัจจุบันสังคมตระหนักถึงโรคนี้ และมีกระแสในการดูแลตนเองมากขึ้น เนื่องในวันหัวใจโรค วันที่ 29/9/64 ขออนุญาตนำเสนอถึงการดูแลป้องกันโรคหัวใจ
เริ่มจากการรับประทานอาหาร ขอแนะนำสูตร จาก สสส (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) 2:1:1 โดยจานขนาดมาตรฐาน เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 9 นิ้ว แบ่งจานออกเป็น 4 ส่วน
เรามาหาจานอีกจานหนึ่ง ขนาดจานเท่าถ้วยกาแฟมาใส่ผลไม้ โดยแนะนำเป็น ผลไม้รสหวานน้อย อย่างเช่น ฝรั่ง ชมพู่ แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ มะเฟือง เมล่อน และ แอปเปิล
ถ้ายังหิว สามารถทานนม ได้ โดยแนะนำเป็นนมสูตรหวานน้อย ไขมันต่ำ เช่นนมจีด นมถั่วเหลือง พยายาม หลีกเลี้ยง น้ำอัดลม น้ำที่มีส่วนประกอบของน้ำตสลฟรุกโตสส รวมถึง เครื่องดื่มรสหวาน
ส่วนเรื่องกาแฟสามารถทานได้ โดยไม่ควรทานเกิน 3-4 แก้วต่อวัน และ เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ ไม่ควรเกิน 10 กรัมต่อวัน แต่ไม่ทานเลยจะดีที่สุดถัดจากอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เรื่องการออกกำลังกาย โดยแนะนำทั้ง การออกกำลังกายแบบทั้งแอโรบิค และ แบบแรงต้าน (aerobic and resistance exercise)
เริ่มจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่นการปั่นจักรยาน วิ่ง ว่ายน้ำ ในช่วงโควิดหลายคนหาที่ออกกำลังกายลำบาก หมอขอแนะนำ เปิด youtube และลองหาคลิปเต้นแอโรบิค เปิดดูและเต้นตาม
ส่วนต่อมาคือ การออกกำลังกายแบบแรงต้าน ถ้านึกไม่ออกขอให้นึกถึงการยกน้ำหนัก โดยแนะนำออกกำลังกาย 8-10 กล้ามมัดใหญ่ โดยออกแรงประมาณ 60-80% ของน้ำหนักที่คิดว่าตนเองยกครั้งเดียวได้แล้วหมดแรง (repetition maximum) ยก 8-12 ครั้ง ต่อ 1 เซ็ต ทำ 1-3 เซ็ต ต่อวัน ทำ 2วันต่อสัปดาห์
ถ้าออกกำลังกายไม่ได้ อย่างน้อยขอแค่ พยายามขยับตัว อย่างน้อยขยับให้ได้ 15นาที/วันยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำงานใน ออฟฟิศ เพราะมีโอกาสเกิด พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary lifestyle)
น้ำหนักและภาวะอ้วนลงพุงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเราควรจะทำให้น้ำหนักอยู่ในช่วง BMI 18.5-22.9 kg/m2 และเส้นรอบเอวอยู่ในช่วงไม่เกิน 80 ซม ในผู้หญิง 85 ซม ในผู้ชาย ถ้าเกินนี้ ควรหาเวลาออกกำลังกาย และควบคู่กับการควบคุมอาหาร ปัจจัยอื่นๆที่สำคัญได้แก่ เลิกสูบบุหรี่ พยายามหาเวลาว่างทำงานอดิเรกเพื่อลดความเครียด รวมถึง ควรได้รับการสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับหาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ความดัน เบาหวาน ไขมัน พยายาม ควบคุมความดันตัวบนให้อยู่น้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท หรือตามเปตามเป้าหมาย ซึ่งแพทย์จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง รวมถึง ควบคุมเบาหวาน และไขมัน