เป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและพบได้บ่อยทั่วโลก ข้อมูลทางระบาดวิทยาในประเทศไทย มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตเป็นอันดับหนึ่งในเพศชาย และอันดับสามในเพศหญิง
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในการเกิดมะเร็งตับคือภาวะตับแข็ง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือซีเรื้อรัง การดื่มสุรามากกว่า 80 กรัมต่อวันติดต่อกันเป็นเวลานาน การสูบบุหรี่ ภาวะอ้วนลงพุง ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจากไขมันพอกตับ และการได้รับสารก่อมะเร็ง Aflatoxin จากการรับประทานอาหารแห้งปนเปื้อนเชื้อราเนื่องจากเก็บรักษาไว้ในที่ชื้น (เช่นถั่วลิสงป่น พริกป่น พริกแห้ง ปลาแห้ง หรือธัญพืชต่าง ๆ ) รวมถึงการมีเนื้องอกตับชนิด Hepatic adenoma ซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ในที่สุด
ในผู้ป่วยที่มีก้อนขนาดเล็กมักไม่แสดงอาการ หากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นมักมีอาการปวดท้องใต้ชายโครงขวา จุกแน่นลิ้นปี่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตัวเหลือง ตาเหลือง ขาบวม ท้องมานน้ำ หากก้อนมีขนาดใหญ่มากจนเกิดการแตกหรือฉีกขาดจะทำให้ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดท้องเฉียบพลัน โลหิตจางร่วมกับมีอาการความดันโลหิตต่ำผิดปกติได้ การลุกลามของมะเร็งไปนอกตับมักจะไปที่ปอด และกระดูก จะทำให้มาด้วยอาการเหนื่อยง่าย หรือปวดกระดูก
ผู้ที่ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งตับมีดังต่อไปนี้
โดยวิธีการตรวจคัดกรองที่แนะนำคือการทำอัลตราซาวด์ช่องท้องร่วมกับการตรวจค่า Alpha fetoprotein (AFP) ทุก 6 เดือน การตรวจค่า AFP เพียงอย่างเดียวไม่สามารถวินิจฉัยมะเร็งตับได้
หากอัลตราซาวด์พบก้อนขนาดน้อยกว่าหนึ่งเซ็นติเมตร แนะนำให้ติดตามอัลตราซาวด์ซ้ำทุกสามถึงหกเดือน หากพบก้อนขนาดมากกว่าหนึ่งเซนติเมตร แนะนำให้ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้าต่อตามดุลยพินิจของแพทย์ หากยังไม่ได้การวินิจฉัยจากการเอกซเรย์อาจต้องทำการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อยืนยันทางพยาธิวิทยาต่อไป
พญ.วริศรา รัชปัตย์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรกรรมระบบทางเดินอาหารและตับ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์โรคทางเดินอาหารและตับ
ชั้น 1A โรงพยาบาลสุขุมวิท
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 20.00 น.
โทร. 02-391-0011 ต่อ 225-227