ไข้หวัดใหญ่

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส INFLUENZA เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือ เสมหะของผู้ป่วย ติดต่อโดยการ ไอ จาม หรือการสัมผัสมือ เครื่องใช้ที่เปื้อนเชื้อโรค

เชื้อไข้หวัดใหญ่มี 3 ชนิด คือ ชนิด เอ บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ อีกมากมาย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อมาก ไข้หวัดใหญ่จะพบมากทุกอายุโดยเฉพาะในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิต มักจะพบมากในผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปี หรือในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต เป็นต้น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ เป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด เพราะสามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และโรคแทรกซ้อนได้

อาการของโรค

ระยะฟักตัวประมาณ 1-4 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ปวดศีรษะรุนแรง ปวดแขน ขา ปวดข้อ ปวดกระบอกตา ไข้สูง 39-40 องศา เจ็บคอ คอแดง น้ำมูกไหล ไอแห้งๆ ตาแดง สำหรับผู้สูงอายุ หรือมีโรคประจำตัว จะมีอาการรุนแรงจากปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบได้ โดยทั่วไปไข้หวัดใหญ่จะหายภายใน 3-7 วัน แต่บางรายอาจมีอ่อนเพลียและไอได้นานถึง 2 สัปดาห์

>

การติดต่อ

เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเดินหายใจ ได้แก่ ไอ หรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตา จมูก และปาก สัมผัสกับสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน แก้วน้ำ การจูบ สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค

ระยะติดต่อ

โดยการเอาเสมหะจากจมูก หรือคอไปเพาะเชื้อไวรัสหรือเจาะเลือดตรวจ;

โรคแทรกซ้อน

ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ได้แก่ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ที่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยมากมักจะเกิดในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

การรักษา

นอนพักผ่อนให้เพียงพอ งดออกกำลังกาย ดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำผลไม้ ให้ยาลดไข้ เช็ดตัว ไม่แนะนำให้ทานยา ASPIRIN ในเด็ก เพราะจะทำให้เกิดกลุ่มอาการ REYC SYNDROME ได้

ผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อ

  • ไข้สูงและเป็นมานาน
  • ให้ยาลดไข้แล้วไข้ยังเกิน 38.5 องศา
  • หายใจหอบ หรือหายใจลำบาก
  • ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้น้อย
  • เด็กซึม ไม่เล่น
  • ไข้ลด แต่อาการทั่วไปไม่มีขึ้น
  • ผิวสีม่วง

การป้องกัน

  • ล้างมือบ่อยๆ
  • อย่าเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา
  • อย่าใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย
  • ให้พักฟื้นที่บ้าน
  • ไอ หรือจามให้ใช้ผ้าปิดปาก และจมูก
  • ถ้ามีการระบาดให้หลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะ
  • การฉีดวัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทำจากเชื้อที่ตายแล้ว ฉีดเข้ากล้ามเนื้อปีละครั้ง ในเด็กอายุ

  • คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
  • เด็กอายุ 6-23 เดือน
  • หญิงตั้งครรภ์ 3 เดือนขึ้นไป และมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ
  • บุคคลากรทางการแพทย์
  • ผู้อาศัยในบ้านพักคนชรา
  • สมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  • ผู้ที่จะไปบริเวณที่มีการระบาด

เรียบเรียงโดย : พญ.จริยา ศาสตรสาธิต
ศูนย์ : กุมารแพทย์
ปรึกษากุมารแพทย์ : 02-391-0011 ต่อ 160-161