ป้องกันมะเร็งปากมดลูกสำหรับคุณสุภาพสตรี ด้วยการฉีดวัคซีน HPV และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ

มะเร็งปากมดลูก, ตรวจภายใน, ป้องกันมะเร็งปากมดลูก,HPV

มะเร็งปากมดลูก” พบได้มากในสุภาพสตรีไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม แต่เป็นมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีน (HPV Vaccine) ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่ในระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งระยะแรกเริ่ม ก็รักษาให้หายขาดได้...มะเร็งชนิดนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส human papilloma virus หรือ HPV ซึ่งหลังจากติดเชื้อชนิดนี้แล้วจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ถึง 10 ปีกว่าจะก่อโรคที่ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเปลี่ยนแปลงจนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะฉะนั้นหากคุณผู้หญิงได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วตรวจพบว่ามีความผิดปกติของเซลล์บริเวณปากมดลูกและติดเชื้อตัวนี้ก็จะช่วยให้รักษาและป้องกันก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะต่อไปได้สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ที่พบบ่อย คือ1.การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย 2.การที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคนซึ่งทำให้มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้มากขึ้น... 3.การสูบบุหรี่ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน หรือ4.ในคนที่เป็นโรคที่ทำให้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5.รวมทั้งคนที่มีประวัติเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์มาก่อน เช่นหนองใน ซิฟิลิส...อาการสำคัญที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่สังเกตได้จาก 1.การมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เพราะเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเหตุที่มีเลือดออกก็เพราะปากมดลูกเริ่มมีแผล โดยที่บางคนอาจมีเลือดออกกระปริดกระปอย หรือมีเลือดออกมากผิดปกติหลังมีเพศสัมพันธ์... 2.มีตกขาวที่ผิดปกติโดยอาจมีสีเหลืองสีเขียวหรือว่ามีเลือดปน 3.มีเลือดออกกระปริดกระปอยตลอดระหว่างมีรอบเดือน ซึ่งอาการเหล่านี้ควรสงสัยว่ามีอะไรผิดปกติบริเวณปากมดลูกหรือในช่องคลอดหรือหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆไม่ ผู้หญิงจึงควรได้รับการตรวจภายในและตรวจอัลตราซาวน์เพิ่มเติมเพื่อดูโรคอื่นๆ ทางนรีเวชด้วย เช่น เนื้องอกมดลูก ถุงน้ำรังไข่เป็นต้น

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ตัวเลือกที่ดีของคุณสุภาพสตรีที่รักตัวเอง วัคซีน HPV มีด้วยกัน 3 ชนิด

มะเร็งปากมดลูก, ตรวจภายใน, ป้องกันมะเร็งปากมดลูก,HPV

“แล้ววัคซีน จะดีจริงไหมนะ”

วัคซีนมี ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV (สายพันธุ์ที่บรรจุในวัคซีนได้มากกว่า 90%)

ปลอดภัยคลายกังวล

  1. ไม่ก่อให้เกิดโรค เพราะไม่ใช่เชื้อที่มีชีวิตแต่ได้มาจากการสังเคราะห์เลียนแบบเชื้อ
  2. ประสบการณ์ใช้ 270 ล้าน เข็มทั่วโลก

HPV คือ

Human Papilloma Virus เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่สามารถก่อให้เกิดโรคได้ในหลายอวัยวะมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดยจัดแบ่งออกเป็น สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ได้แก่ สายพันธุ์ 16,18,31,33,35,45,52,58 และสายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ ได้แก่ สายพันธุ์ 6,11 เป็นต้น ไวรัสนี้สามารถก่อโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย เป็นสาเหตุของของโรคมะเร็งในอวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งช่องคลอด, มะเร็งปากช่องคลอด, มะเร็งอวัยวะเพศชาย, มะเร็งทวารหนัก และ มะเร็งช่องปากและลำคอ

เราอาจจะเคยได้รับเชื้อHPV มาแล้ว

เชื้อ HPV ติดได้ง่ายผ่านการสัมผัส เช่น เพศสัมพันธ์ หรือ การสัมผัสที่รุนแรงบริเวณอวัยวะเพศ โดยผู้ชายและผู้หญิง 4 ใน 5 คน จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตส่วนมากร่างกายจะกำจัดเชื้อออกไปได้ภายใน 2 ปี แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้จะทำให้เกิดการพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้ในอนาคต

เมื่อติดเชื้อ HPV เชื้ออาจจะซ่อนอยู่นาน 10 ปี

โดยไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้น เชื้อจึงอาจแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว โดยมากจะแสดงอาการเมื่อเป็นระยะลุกลามแล้ว อีกทั้งพบว่าเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดการติดต่อ HPV อย่างถาวร ซึ่งจะยิ่งเพิ่มโอกาสในการพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้มากยิ่งขึ้น

มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้

  1. ทุกๆวัน จะมีหญิงไทย 14คน เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูก 1 คน
  2. ทุกๆวัน จะมีหญิงไทย 24 คน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกรายใหม่
  3. มะเร็งปากมดลูก มักเป็นผู้หญิงวัยทำงาน ช่วงอายุ 35-44 ปี
  4. เกือบ 100% มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อ HPV เช่น สายพันธุ์ 16,18,31,33,45,52,58
  5. มะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันได้จากการฉีดวัคซีนร่วมกับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ

HPV ก่อโรคในผู้ชาย

ในแต่ละปี มีผู้ชายเป็น

  1. มะเร็งทวารหนัก ประมาณ 16,000 คน
  2. หูดหงอนไก่ จำนวนมากถึง 15 ล้านคน/ปี หูดหงอนไก่ เกิดลักษณะเป็นติ่งเนื้องอกอ่อนๆ คล้ายหงอนไก่หรือดอกกะหล่ำ สามารถทำให้เกิดซ้ำได้ 30-70% ในระยะเวลา 6 เดือนหลังการรักษา ในเพศชาย ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตอบสนองต่อเชื้อ HPV ได้ไม่ดีทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อซ้ำและเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ

การป้องกันเชื้อ HPV

ปัจจุบันในประเทศไทย มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 3 ชนิด

  1. วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ (16/18)
  2. วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (6/11/16/18)
  3. วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ (6/11/16/18/31/33/45/52/58)

ระยะการฉีดควรฉีดวัคซีนห่างกันอย่างไร

เด็กวัยรุ่นหญิงและชาย อายุ 9-14ปี
ฉีด 2 เข็ม ที่ 0, 6-12 เดือน แนะนำให้ฉีดครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 6 – 12 เดือน

ผู้ชาย อายุ 16-26 ปี และ ผู้หญิง อายุ 16-45 ปี
ฉีด 3 เข็ม ที่ 0, 1-2 และ 6 เดือน แนะนำให้ฉีดครั้งที่สองห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย1เดือน,ฉีดครั้งที่สามห่างจากครั้งที่สองอย่างน้อย 3 เดือนและห่างจากครั้งแรก อย่างน้อย 5 เดือน ควรได้รับวัคซีน ครบ 3 เข็ม ภายในระยะเวลา1ปี
HPV ก่อโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ป้องกันได้ง่ายๆ โดยการฉีดวัคซีน ป้องกันเชื้อ HPV เพียง 3 เข็ม



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ศูนย์สูติ-นรีเวช
ชั้น 2A โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 356, 357



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล: