สัญญาณโรคเนื้องอกมดลูก อย่ามองข้าม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

เนื้องอกมดลูก

สัญญาณโรคเนื้องอกมดลูก อย่ามองข้าม
เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน


ปัญหาภายใน เป็นเรื่องใกล้ตัวของผู้หญิงทุกคน หนึ่งในนั้นคือ โรคเนื้องอกมดลูกที่พบได้บ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 30-50 ปี และมักแสดงอาการที่รบกวนชีวิตประจำวันคุณสุภาพสตรี อาทิ ปวดประจำเดือนมากกว่าปกติเป็นประจำเดือนมากกว่าปกติ หรืออื่นๆ ด้วยความไม่รู้หรือเข้าใจว่าเป็นเรื่องปกติ กว่าจะรู้ตัวอีกทีขนาดของเนื้องอกอาจขยายตัวขึ้นจนส่งผลกระทบกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง จนส่งผลแทรกซ้อนอื่นๆ ต่อร่างกายได้ และทำให้อาการแย่ลงหรือการรักษามีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หรือหากปล่อยไว้เนื้องอกอาจเป็นเนื้อร้ายก็เป็นได้ แต่หากเราทราบอาการหรือสังเกตอาการผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่มของโรคเนื้องอกในมดลูก ก็จะสามารถทำให้สังเกตอาการของตัวเองได้เร็ว และสามารถรักษาได้ทันการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติได้เร็วขึ้น


อาการของเนื้องอกมดลูก
  • ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ
  • ปวดท้องแบบหน่วงๆ ทั้งที่ไม่มีประจำเดือน
  • มีเลือดออกมากระหว่างรอบเดือน มีลิ่มเลือดปนเป็นก้อน
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้นแต่ออกไม่มาก
  • มีอาการท้องผูกผิดปกติ

ขนิดของเนื้องอกมดลูก
  • เนื้องอกในกล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) คือ การเติบโตของก้อนเนื้องอกบริเวณภายในกล้ามเนื้อมดลูก ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบก้อนเนื้องอกได้บ่อยที่สุด
  • เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) คือ เนื้องอกที่ตำแหน่งก้อนเนื้อโตขึ้น และดันออกมาที่ผิวด้านนอกมดลูก
  • เนื้องอกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) คือ เนื้องอกที่ตำแหน่งก้อนเนื้อโตขึ้น และดันเข้าไปในโพรงมดลูก โดยยังอยู่ใต้เยื่อบุมดลูกซึ่งอาจทำให้โพรงมดลูกเบี้ยวไปจากเดิมได้

การรักษา
  • 1...ติดตามอาการ โดยอัลตราซาวน์ทุก 6 เดือน
  • 2...การรักษาด้วยยา
  • 3...การผ่าตัด โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ คือ
    • 3.1..การผ่าตัดแบบมาตรฐาน
      • 3.1.1..การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกผ่านทางหน้าท้อง Abdominal Hysterectomy แผลผ่าตัดค่อนข้างใหญ่
      • 3.1.2..การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกผ่านทางหน้าท้องแบบแผลเล็ก Myomectomy (Explore) ซึ่งถือเป็นการ ผ่าตัดแบบมาตรฐาน แต่แผลเล็กกว่าโดยเปิดแผลประมาณ 4-5 เซนติเมตรที่บริเวณหน้าท้องในแนวขวาง ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ว่าแผลผ่าตัดผ่านกล้องเล็กน้อย โดยเวลาผ่าตัดจะสามารถเห็นได้ว่าท่อไตอยู่ตรงไหน เนื้องอกอยู่ตรงไหนจึงสามารถแยกได้อย่างชัดเจนทำให้การผ่าตัดค่อนข้างปลอดภัย และสามารถเก็บมดลูกไว้ใช้งานได้ปกติ
    • 3.2..การผ่าตัดแบบส่องกล้อง
      • 3.2.1..การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกผ่านการส่องกล้องช่องท้อง (Laparoscopic Hysterectomy) โดยจะใช้กล้องเข้าไปผ้าตัดเนื้องออกมดลูกออกโดยผ่านทางช่องท้อง 2 แผล โดยมีขนาดแผลประมาณ 6 มิลลิเมตร

โดยวิวัฒนาการทางการแพทย์ได้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เพื่อการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คุณสุภาพสตรีหายจากอาการปวดท้องจากอาการเนื้องอกที่มดลูก และกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ โดยหากปล่อยไว้นอกจากจะมีอาการดังข้างต้นแล้ว หากเนื้องอกโตมากผิดปกติ อาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียงที่ส่งผลแทรกซ้อนได้เช่นกัน อาทิ ก้อนเนื้องอกที่มดลูกไปเบียดไตที่อยู่ข้างเคียง หากปล่อยไว้อาจส่งผลให้เกิดอาการไตวายได้ บางรายอาจส่งผลให้เกิดปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากก้อนเนื้อไปปิดกั้นทางเดินของตัวอสุจิไม่ให้เข้าไปในท่อนำไขได้หรือเนื้องอกอาจส่งผลให้โพรงมดลูกผิดรูป ทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถมาฝังตัวเจริญเติบโตในมดลูกได้


สิ่งสำคัญในการป้องกัน และช่วยรับมือกับเนื้องอกมดลูกได้ดี คือการหมั่นตรวจภายในเป็นประจำทุกปี รวมถึงการตรวจอัลตราซาวด์ และเมื่อพบอาการผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันทั้งการทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดความเครียด และการดูแลสุขภาพให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นเนื้องอกได้อีกทางหนึ่ง


โปรแกรมผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็ก ทางนรีเวช


นพ.อรัณ ไตรตานนท์

นพ.อรัณ ไตรตานนท์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านมะเร็งนรีเวช


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์สูติ-นรีเวช
ชั้น 2A โรงพยาบาลสุขุมวิท
เปิดบริการทุกวัน 08.00 - 20.00 น.
โทร. 02-391-0011 ต่อ 356, 357

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล: