ตอนเด็กทุกคนต้องเคยผ่านประสบการณ์โดนคุณหมอจิ้มเข็มฉีควัคซีนมาแล้ว แต่รู้มั๊ยว่าพอเป็นผู้ใหญ่ การฉีดวัคซีน มีความสำคัญมากห้ามละเลย เรามีคุณหมอ วีระชัย โชตินพรัตน์ภัทร อายุรแพทย์ มาให้ความรู้ในเรื่องนี้กัน
ทำไมผู้ใหญ่ยังต้องฉีดวัคซีน
เมื่อก่อนวัคซีนอาจจะฉีดกันแต่ในเด็ก เพราะเด็กยังไม่เคยเจอเชื้อ ทำให้ไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้น จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนที่เป็นชิ้นส่วนของเชื้อ เชื้อที่ตายแล้ว หรือเชื้อที่อ่อนแรงเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้รู้จักเชื้อนั้นและสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้นขึ้นมา เมื่อมีการติดเชื้อ ร่างกายก็จะผลิตภูมิคุ้มกันขึ้นมาป้องกันได้ทัน ทำให้สามารถยับยั้งเชื้อนั้นๆ ได้
ในผู้ใหญ่เองอาจจะเคยเจอเชื้อนั้นแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันก็อาจจะลดลงตามอายุที่มากขึ้น จึงต้องมีการกระตุ้นด้วยการฉีดวัคซีน หรืออาจจะเป็นเพราะเชื้อนั้นมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง หรือ สายพันธุ์ใหม่จนระบบภูมิคุ้มกันเดิมของเราไม่รู้จักเชื้อนั้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ มีสายพันธุ์ที่ระบาดเปลี่ยนไปทุกปี จึงต้องมีการฉีดเชื้อวัคซีนที่กระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่ทุกปีเช่นกัน
การฉีดวัคซีนป้องกันได้ 100% ไหม?
ถึงการฉีดวัคซีนจะไม่ได้การันตีว่าป้องกันโรค ได้100% แต่อย่างน้อยป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่าแก้ “เพราะเราเองก็คงไม่อยากเป็นโรคแล้วจึงมารักษา เคยมีคนไข้เป็นไข้เลือดออกหลายราย มักจะถามว่าเมื่อไรจะมีวัคซีน เพราะตอนที่เป็นมีอาการไข้สูง ทุกข์ทรมานเหลือเกิน” การฉีควัคซีนอาจจะมีผลข้างเคียง ที่อาจจะไม่รุนแรง อย่างเช่น ปวด บวมบริเวณที่ฉีด มีไข้ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นสมองอักเสบก็มี แต่ก็เป็นส่วนน้อยมาก “บางคนอาจจะแพ้ชิ้นส่วนของไข่ เพราะบางครั้งในการทำวัคซีนก็มีการเอาชิ้นส่วนของไข่มาใช้ในการเพาะเชื้อ”
อะไรคือ วัคซีนที่จำเป็น ?
ฉีดวัคซีนกี่ครั้งถึงจะพอ ?
การฉีดวัคซีนแต่ละประเภทก็จะมีระยะเวลาในการป้องกันโรคที่ต่างกัน “บางอย่างฉีดครั้งเดียวก็อยู่ได้ไปตลอดชีวิต อย่าง หัดเยอรมัน อาจจะฉีด 2 เข็ม ก็อยู่ได้ตลอดชีวิต แต่บางอย่างก็ต้องฉีดกระตุ้น อย่าง เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่เชื้อเปลี่ยนไปทุกปี องค์การอนามัยโลกเขาก็ทำวิจัยคาดการณ์ล่วงหน้าประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปีว่า ปีนี้เชื้อตัวไหนมีแนวโน้มจะระบาด เพื่อเตรียมเอาเชื้อตัวนั้นมาทำเป็นวัคซีน จึงต้องฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อที่จะระบาดในปีนั้นๆ วัคซีนไอพีดี วัคซีนงูสวัด ฉีดครั้งเดียวป้องกันได้ตลอดไป ก่อนฉีดวัคซีนควรที่จะปรึกษาแพทย์ เพื่อการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมกับอายุ สภาพแวดล้อม อาชีพ และโรคประจำตัวของแต่ละคน”
เรียบเรียงโดย : นพ.วีระชัย โชตินพรัตน์ภัทร