นอนกรน ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ

การกรนรบกวนการพักผ่อนของคุณ และคนในครอบครัวรวมทั้งเป็นสัญญาณที่บอกว่าจริงๆ แล้วคุณอาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับในตอนกลางคืนด้วย สังเกตได้โดย

  • ตื่นขึ้นมาด้วยความเหนื่อยอ่อน, ล้า แม้หลังจากหลับสนิทแล้วตอนกลางคืน
  • ตื่นขึ้นมาพร้อมกับมีอาการปวดหัว
  • รู้สึกหงุดหงิด และอารมณ์เสีย
  • มีปัญหาในการรวบรวมสมาธิ หรือการใช้ความจำภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่เพียงทำให้คุณอ่อนเพลียบางขณะเท่านั้นแต่เกี่ยวกับความดันโลหิตสูง หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง (หรือสมองตาย)

แต่อาการเหล่านี้รักษาให้หายได้ คุณสามารถนอนหลับได้สบายขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงตัวเองบางอย่างสามารถช่วยได้

สาเหตุของการนอนกรน

คือโครงสร้างภายในทางเดินหายใจ เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอลซิน และลิ้น คลายตัวเวลาหลับ ทำให้ช่องทางเดินอากาศถูกอุดกั้นบางส่วน จนเกิดการสั่นเมื่อมีอากาศผ่านเข้าออก เกิดเสียงกรน รวมทั้งปัญหาโพรงจมูก เช่น ผนังในโพรงจมูกคด (Deviated Septum), มีเนื้องอก (Ployps) ในโพรงจมูก, หวัด, ภูมิแพ้ ที่มีผลกระทบต่อจมูก, การสูบบุหรี่ และสิ่งอื่นๆ ที่มีผลทำให้เนื้อเยี่อโพรงจมูกของคุณบวมขึ้น ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินของอากาศ เกิดการกรนได้

นอนกรน รักษาได้อย่างไรบ้าง?

พบแพทย์ตรวจร่างกาย, ประวัติการนอนหลับ, การเข้ารับการตรวจสอบการนอนหลับในห้องทดลอง หรือการตรวจสอบการนอนที่บ้านเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมแก่คุณ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่คุณทำได้ จะทำให้อาการนอนกรนดีขึ้น และส่งผลดีมากเมื่อปฏิบัติร่วมกับการรักษาอื่นๆ

  • การนอนตะแคง
  • พยายามเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยาแก้แพ้
  • ลดน้ำหนักตัว
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การทำให้โพรงจมูกโล่ง : เข้ารับการรักษาภูมิแพ้, มีก้อนเนื้อ, จมูกคด เป็นต้น
  • การใช้เครื่องมือที่ใส่ทางปาก ทั้งนี้คุณต้องผ่านการศึกษาตรวจสอบการนอนกรนตามแผนการรักษา
  • การผ่าตัดต่างๆ ตามสาเหตุ, การใช้เลเซอร์
  • การรักษาด้วยการใช้คลื่นวิทยุ

เรียบเรียงโดย : ศูนย์หู คอ จมูก
ศูนย์ : หู คอ จมูก
ปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูก : 02-391-0011

VAR_INCL_CK