สตรีวัยทองกับการใช้ฮอร์โมน

สตรีเมื่อเข้าสู่วัยทองนั่นคือช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป มีการทำงานของรังไข่ลดลง ระดับฮอร์โมนเพศลดลง ร่างกายระบบต่างๆ เกิดการเสื่อมถอยจนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนหลายอย่างตามมา

ผู้อ่านหลายท่านอาจเคยได้ยินการใช้ฮอร์โมนรักษาในหญิงวัยทองมาบ้างแล้วแต่อาจยังขาดความเข้าใจว่าเมื่อไหร่เราจึงจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน และอย่างตัวเรานี้ต้องใช้ฮอร์โมนรักษาหรือไม่

โดยทั่วไปจุดประสงค์หลักของการใช้ฮอร์โมนรักษาในสตรีวัยทองนั้น เพื่อต้องการเพิ่มคุณภาพชีวิต ( Quality of life ) และให้การรักษาภาวะผิดปกติเท่านั้น ไม่ได้ให้ฮอร์โมนเพื่อเป็นการทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไป

ดังนั้นกรณีฮอร์โมนขาดหายไปตามวัยและไม่มีผลกระทบใดๆต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจหรือคุณภาพชีวิต ก็ไม่มีความจำเป็นในการใช้ฮอร์โมนรักษา

ภาวะความผิดปกติที่ถือว่าเป็นข้อบ่งชี้ในการใช้ฮอร์โมนรักษา มีดังนี้ค่ะ

  • อาการร้อนวูบวาบตามตัว ( Vasomotor symptom )
  • อาการระบบทางเดินปัสสาวะ และช่องคลอด ( Urogenital symptom ) เช่น แสบ ร้อน แห้ง เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์
  • โรคกระดูกพรุน ( Osteoporosis )
  • ภาวะหมดระดูก่อนวัยอันควร ( Premature menopause )

ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับจากการใช้ฮอร์โมนรักษา

  • การใช้ฮอร์โมนในคนที่ยังมีมดลูกอยู่ การใช้ฮอร์โมนโปรเจสโตเจนร่วมด้วย สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุมดลูกได้
  • การใช้ฮอร์โมนสามารถป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( Colorectal cancer ) ได้
  • ถ้าผู้ป่วยเริ่มได้รับฮอร์โมนตั้งแต่อายุยังน้อย อาจช่วยลดการเกิดโรคความจำเสื่อม ( Alzheimer ) ได้
  • การให้ฮอร์โมนนั้นจะดีต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เช่น ผิวหนัง ข้อต่อ และหมอนรองกระดูกสันหลัง
  • สามารถลดความเสื่อมต่อภาวะกระดูกหักได้
  • ความเสื่อมต่อต่อโรคเบาหวานลดลง ในผู้ที่ได้รับฮอร์โมนแต่ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ในการพิจจารณาให้ฮอร์โมนรักษา

ดังนั้นการใช้ฮอร์โมนเพื่อการรักษาในสตรีวัยทองจึงจำเป็นต้องมีการประเมินผู้ป่วยแต่ละราย ถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอันได้แก่ มะเร็งเต้านม, มะเร็งในหลอดเลือดอุดตัน, โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจ

สำหรับสตรีวัย 45 ปีขึ้นไป ที่ต้องการตรวจประเมินสภาพร่างกาย เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยทอง และการดูแลตนเองในวัยทอง สามารถรับคำแนะนำและตรวจสุขภาพ โดยสูติ-นรีแพทย์

เรียบเรียงโดย : พญ.รัชนิกร เลิศวรวณิช
ศูนย์ : สูติ-นรีเวช
ปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ : 02-391-0011

VAR_INCL_CK