มาช่วยกันสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆ กันดีกว่า

บุตรหลานของท่าน มีพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่?

มีปฏิกิริยาต่อความรู้สึกมากไปหรือน้อยไป เช่น

  • หลีกหนีการถูกสัมผัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใบหน้า หรือช่องปาก
  • กลัวที่สูง กลัวเมื่อเท้าลอยจากพื้น กลัวการขึ้นลิฟท์หรือบันไดเลื่อน
  • มีความรู้สึกไวต่อเสียง แสง กลิ่น รส โดยแสดงอาการปิดหู ปิดตา สำรอก
  • ชอบการเคลื่อนไหวมาก ชอบพิงคนอื่น ชอบผลัก ชอบลูบตามผนังหรือราวบันได
  • ไม่แสดงอาการเจ็บปวดต่อการบาดเจ็บแบบที่เด็กวัยเดียวกันแสดงอาการ
  • มีความยากลำบากในการเรียน และการวางแผนการเคลื่อนไหว
  • หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาและกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหว
  • ชอบเล่นของเล่นเดิมๆ กิจกรรมเดิมๆ
  • ทำกิจกรรมอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ทำขั้นตอนขาดบ้าง เกินบ้าง
  • มีท่าทางงุ่มง่าม
  • มีความยากลำบากในการเริ่มต้นกิจกรรม หรือการจบกิจกรรม
  • มีความยากลำบากในการออกแบบความคิดใหม่ๆ ในการเล่นของเล่น (เล่นแบบซ้ำๆ เดิมๆ)
  • มีความยากลำบากในการทำสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบการรับความรู้สึกด้านการทรงตัว
  • มีความยากลำบากในการใช้มือ 2 ข้าง หรือร่างกาย 2 ซีกทำงานร่วมกัน เช่น การใช้มือข้างหนึ่งจับกระดาษ ขณะที่ใช้มืออีกข้างจับกรรไกรตัด การกระโดด 2 ขา การผูกเชือกรองเท้า การขี่จักรยาน
  • แสวงหาการเคลื่อนไหวเกินปกติ เช่น วิ่ง กระโดด เกือบตลอดเวลา
  • ล้มกระแทกพื้นบ่อยกว่าเด็กทั่วไป ไม่มีความพยายามที่จะรักษาความสมดุลของร่างกาย
  • ชอบนั่งตัวงอดูเหมือนมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง และข้อหลวม
  • มีความลำบากในการมองวัตถุที่เคลื่อนที่ มีความลำบากในการลอกตามกระดานดำ
  • ไม่มีความชัดเจนว่าถนัดมือข้างไหน มักใช้มือทั้งสองข้างสลับกันทำงาน
  • มีความสับสนเรื่องของทิศทาง เช่น ซ้าย ขวา บน ล่าง
  • ตอบสนองต่อความรู้สึกอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
  • มีความลำบากในการใช้ความรู้สึกสัมผัสวัตถุชิ้นเล็ก เช่น การติดกระดุม การจับดินสอ
  • มีความสับสนในรูปร่างของตัวอักษรหรือตัวเลข
  • มีความลำบากในการจำแนกเสียงหรือคำ
  • มีการตระหนักรู้ส่วนต่างๆ ของร่างกายและตำแหน่งของส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดีพอ เช่น นั่งเก้าอี้แบบงุ่มง่าม ชนคน ชนวัตถุ ยืนในตำเหน่งที่ใกล้เกินไป หรือไกลเกินไป ใช้แรงกดมากไปหรือน้อยไปในการเขียนหนังสือ

หากบุตรหลานของท่านมีพฤติกรรมดังกล่าว สามารถพามารับการประเมินจากนักกิจกรรมบำบัดที่โรงพยาบาลสุขุมวิท เพื่อจัดโปรแกรมในการบำบัดที่เหมาะสม

ประเภทของเด็กที่มารับบริการได้

  • เด็กทั่วไปที่ผู้ปกครองต้องการส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการทำงานของสมองให้มากขึ้น
  • เด็กออทิสติก เด็กสมาธิบกพร่อง / เด็กสมาธิสั้น และอยู่ไม่นิ่ง (ADHD)
  • เด็กมีปัญหาการเรียนรู้ (LD)
  • เด็กแอสเพอร์เกอร์ เด็ก PDD
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
  • เด็กดาวน์ซินโดรม
  • เด็กสมองพิการ

โปรแกรมที่โรงพยาบาลสุขุมวิทมีบริการ

  • SENSORY INTERGRATIVE THERAPY (SI)
  • BRAIN GYM
  • ALERT PROGRAM (โปรแกรมสำหรับเด็กซน อยู่ไม่นิ่ง และเด็กที่มีท่าทางอ่อนแรง ไม่มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม)
  • SOCIAL ADVENTURE GROUP (กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกทักษะทางด้านสังคม)
  • HANDWRITING WITHOUT TEARS (โปรแกรมสำหรับเด็กที่มีปัญหาด้านการเขียนหนังสือ)
  • YOGA เพื่อการบำบัดสำหรับเด็กปกติ และเด็กพิเศษ กระตุ้นพัฒนาการ

โปรแกรมทั้งหมด มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ทำให้เด็กได้มีการปรับเปลี่ยน แก้ไข พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และช่วยให้เด็กมีความสามารถในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น มีสมาธิ มีการจัดระบบระเบียบของตัวเอง มีความภาคภูมิใจในตนเอง มีการควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีความมั่นใจในตัวเอง มีความสามารถในด้านการศึกษาเพิ่มขึ้น มีความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม และรู้จักการใช้เหตุผล มีร่างกายซีกที่ถนัดอย่างชัดเจน พัฒนาการใช้มือในการเขียน การทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้ดีขึ้น รู้จักกาลเทศะมากขึ้น

โรงพยาบาลสุขุมวิท มีบริการคลินิคกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กทั่วไป และเด็กพิเศษ ทุกวันในเวลา 08.00-20.00 น.

โดยทีมงานนักกิจกรรมบำบัดผู้มีประสบการณ์ด้านการบำบัดเด็ก และมีเทคนิคใหม่ๆ จากประเทศสหรัฐอเมริกา

การให้การบำบัด : นักกิจกรรมบำบัด 1 คน ต่อเด็ก 1 คน

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หน่วยงานกิจกรรมบำบัด
ศูนย์ : ผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรม
0-2391-0011 ต่อ 435

โดยทีมงานกิจกรรมบำบัด
อ.กันยารัตน์ รังษิตนันท์
อ.อรพินธ์ ศิริวิไลรัก
อ.ผุสดี โพธาราม
อ.มาลัย จันทร์สุข

VAR_INCL_CK