อาการชักในเด็ก

อาการชัก เป็นการแสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เรียกว่าโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู อาการชักที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวยังไม่แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก

สาเหตุของโรค

อาการชักในเด็กอาจเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ที่พบได้ คือ ไข้ ในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน - 6 ปี เมื่อมีไข้อาจจะทำให้เกิดอาการชักได้ พบได้ประมาณ 3% ของเด็กในช่วงอายุนี้ โดยที่ลักษณะอาการชักมักจะเป็นทั้งตัว คือจะมีอาการชักเกร็.ทั้งตัว หรือชักเกร็งกระตุกทั้งตัวก็ได้ ซึ่งจะเกิดในระยะแรกของการมีไข้ และอาการชักจะหยุดเองในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 5 นาที ส่วนใหญ่จะมีประวัติชักจากคนในครอบครัว ความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ ซึ่งอาจจะพบได้ในเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสีย และมีการสูญเสียเกลือแร่ หรือได้รับสารเกลือแร่ขนาดที่ไม่เหมาะสม หรือมากกว่าที่ต้องการ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การกระทบกระเทือนที่ศรีษะ การติดเชื้อของระบบประสาท เช่น ภาวะสมอง หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยา หรือสารกระตุ้นสมอง เป็นอาการแสดงของโรคลมชัก

ลักษณะของการชัก

การชักอาจเกิดได้หลายรูปแบบ ทั่วๆ ไปมักจะเข้าใจว่า การชักจะต้องเป็นแบบกระตุกเป็นจังหวะทั้งตัว ในความเป็นจริง อาการชักอาจจะมีหลายลักษณะ เหม่อลอยชั่วขณะ หมดสติทันทีร่วมกับอาการตัวอ่อน กระตุกเป็นครั้ง เกร็งผวา มีพฤติกรรมผิดปกติชั่วขณะ โดยที่ไม่มีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม อาการเฉพาะที่ เช่น อาการกระตุกซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ ที่เป็นทันทีและเกิดในช่วงสั้นๆ

อันตรายจากการชัก

ในระหว่างที่เกิดอาการชักที่เป็นแบบทั้งตัว และมีอาการหมดสติ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงกับร่างกายส่วนต่างๆ ได้ โดยเฉพาะศรีษะ เกิดการสำลักซึ่งอาจจะอุดกั้นหลอดลม เป็นผลทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนได้ กาักที่เกิดนานมักจะควบคุมยาก และอาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติของสมองส่วนอื่นๆ ได้ ขณะเกิดอาการชักที่เป็นทั้งตัว โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองนั้นน้อยมาก ความเชื่อที่ว่าเมื่อเกิดอาการชักแล้วจะต้องพยายามงัดปาก หรือสอดใส่วัสดุใดๆ เข้าไปในปาก เพื่อป้องกันการกัดลิ้นนั้นไม่ถูกต้อง ในความเป็นจริงแล้ว การพยายามทำสิ่งดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตราย ทั้งแก่เด็กที่กำลังชักและผู้ที่กระทำ

การปฏิบัติตัวเมื่อเด็กเกิดอาการชัก

ผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ต้องตั้งสติให้มั่นจัดท่าให้เด็กอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยจากการชัก คือนอนราบตะแคงศรีษะไปด้านข้าง และพยายามกำจัดน้ำลายหรือเศษอาการที่เด็กอาจจะอาเจียนออกมา บริเวณภายนอกปาก ห้ามสอดใส่วัสดุใดๆ เข้าไปในปากหรือพยายามงัดปาก ในกรณีที่มีอาการไข้สูงร่วม ต้องเช็ดตัวลดไข้ โดยทั่วไปอาการชักจากไข้ไม่เกิน 5 นาที เมื่อเด็กหยุดชักควรนำตัวเด็กพบแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาต่อ นำส่งสถานพยาบาลใกล้เคียงทันที

การรักษา

การชักจากไข้ แพทย์จะรักษาสาเหตุของไข้ และให้ยาเพื่อหยุดอาการชักพร้อมกันไปด้วย ถ้ามีอาการชักซ้ำบ่อยจะแนะนำให้ใช้ยาป้องกันการชักซ้ำ ซึ่งให้เฉพาะเวลาที่มีไข้ ที่ใช้เวลานี้คือยา DIAZERAM ให้เวลามีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส การให้ยาป้องกันการชักระยะยาวจะให้ในผู้ป่วยที่ชักบ่อยมาก หรือชักนานในแต่ละครั้ง โรคลมชัก แพทย์จะให้ทานยากันชัก โดยให้กินยาสม่ำเสมออย่างน้อบ 2 ปี หลังจากการชักคร้งสุดท้อย ถ้าควบคุมอาการได้จะค่อยๆ ลดยาและหยุดยาลงภายใน 3-6 เดือน การชักจากสาเหตุอื่นๆ ให้การรักษาตามสาเหตุ

เรียบเรียงโดย : พ.ญ.ภาณี เอี่ยมฐิริวัฒน์
กุมารแพทย์

VAR_INCL_CK