การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและอัมพาต (Stoke)

ปัจจุบัน... ผู้ป่วยโรคเลือดสมองมีมากขึ้น และโอกาสที่รอดชีวิตมีมากขึ้น เนื่องจากมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ การบำบัดฟื้นฟูสามารถช่วยลดอาการผิดปกติและเพิ่มสมรรถภาพของผู้ป่วย

ลักษณะอาการที่พบบ่อย

  • อัมพาตอ่อนแรง ขยับแขนขาได้น้อย หรือไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
  • ปากเบี้ยว มีน้ำลายไหล พูดไม่ชัด ดูดกลืนน้ำและอาหารลำบาก
  • ชาแขนขาข้างที่อัมพาต ไม่รู้สึกเวลาโดนของร้อน หรือของมีคม
  • ข้อไหล่หลวมหลุด ซึ่งเกิดจากกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่อ่อนแรง
  • กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ซึ่งอาจพบได้ในระยะต่อมาของการเป็นอัมพาต
  • แขนและมือปวดบวม ซึ่งอาจเกิดจากการไม่เคลื่อนไหวแขนและขา
  • มีปัญหาด้านการกลืน ทำให้มีโอการสำลักอาหารเข้าปอด และเป็นโรคปอดอักเสบตามมาได้

** ปัญหาต่างๆ ควรได้รับการดูแลรักษาฟื้นฟูโดยอาศัยความร่วมมือของแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด นักจิตกรรมบำบัด ทีมผู้รักษา ผู้ป่วย ญาติ และผู้ดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูได้เต็มที่ ตามความสามารถของผู้ป่วยแต่ละคน

การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วย

  • ปัญหาแขนและขาอ่อนแรง
    ควรทำกายภาพบำบัด เพื่อให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวมากขึ้น โดยการจัดท่านอน การบริหารข้อ ฝึกนั่ง ยืน เดิน และขึ้นลงบันได นอกจากนี้ควรฝึการเคลื่อนไหวของมือและแขน ฝึกทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร ใส่เสื้อฟ้า และกางเกง อาบน้ำ เป็นต้น
  • ปัญหาด้านการกลืน
    ในระยะแรกผู้ป่วยที่ยังดูดกลืนอาหารไม่ได้ ควรใช้สายยางให้อาหารก่อน หลังจากอาการทั่วไปดีขึ้น ควรฝึกกล้ามเนื้อที่ใช้ในการรับประทานอาหาร ฝึกกลืนโดยใช้อาหารดัดแปลง ถ้าแน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยสามารถกลืนอาหารได้ปลอดภัย และเพียงพอ จึงพิจารณาไม่ใช้สายยางให้อาหาร
  • ปัญหาการสื่อสาร
    เนื่องจากรอยโรคในสมองซีกซ้าย ควบคุมด้านการพูดการใช้และการรับรู้ภาษา ดังนั้นผู้ป่วยอัมพาตซีกขวาอาจมีปัญหาในการสื่อสารไม่เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง พูดไม่ได้ ใช้คำผิด ผู้ป่วยควรได้รับการฝึกเพื่อให้สื่อสารได้มากที่สุด
  • ปัญหากล้ามเนื้อเกร็ง
    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการเกร็งมากน้อยขึ้นกับพยาธิสภาพของสมอง บางครั้งอาการเกร็งอาจเป็นอุปสรรคในการบำบัดฟื้นฟู และทำให้ข้อต่างๆ ยึดติดได้ แนวทางการรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เช่น การกำจัดสิ่งกระตุ้นอาการเกร็ง การออกกำลังเคลื่อนไหวข้อ การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด การใช้กาย อุปกรณ์เสริม การฉีดยาลดเกร็ง เป็นต้น
  • การจัดท่านอนที่ถูกต้องสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง

เรียบเรียงโดย :
ศูนย์ : เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ปรึกษาแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู : 02-391-0011

VAR_INCL_CK