การรักษาและป้องกันปวดคอ - ปวดไหล่

ปวดคอ - ปวดไหล่

ลำคอเป็นอวัยวะที่ต้องแบกรับน้ำหนักของศีรษะไว้ทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน ลำคอมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ก้มเงยเอี้ยวหมุน จึงเป็นจุดอ่อนที่จะเกิดอันตรายกับกระดูกคอได้ง่าย

สาเหตุของอาการปวด
มักจะเกิดจากอริยาบถที่ผิดสุขลัษณะในชีวิตประวันวัน เช่น

  • นอนคว่ำเป็นประจำ (คอบิดนานๆ)
  • นอนหมอนสูงเกินไป (กระดูกคอโค้งลงล่าง)
  • สลัดคอบ่อยๆ เช่น สลัดผมที่ปรกหน้าผาก หรือผมลงข้างคอหรือบ่า
  • ใช้คอและไหล่หนีบโทรศัพท์เป็นประจำ, เล่นดนตรีที่ต้องวางบนบ่า ใช้คอยันไว้
  • งานที่ต้องเกร็งไหล่ 2 ข้าง, ก้มเงยนานๆ บ่อยๆ เช่น งานถึกโครเช เย็บผ้า สอยผ้า พิมพ์ดีด คอมพิวเตอร์
  • นั่งทำงานกับโต๊ะที่ไม่ได้สัดส่วนกับร่างกายผู้นั้น
  • นั่งหลับระยะยาว เดินทางไปต่างจังหวัดกลางคืน นั่งสัปหงกในรถเมล์
  • อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวคอทันที เช่น รถชนท้าย คอกระชากไปหน้า + สะบัดไปหลัง (Whiplash Injury) ตกจักรยาน หกล้ม ล้วนแต่ทำให้คอกระชาก กระตุกไปข้างๆ ไปหน้าหรือหลัง

อาการปวดคอ

เริ่มจากปวดเมื่อยต้นคอ คอเคล็ด เอี้ยวคอไม่ถนัด อาจเจ็บเป็น ๆ หายๆ มีอาการน้อยจนมากได้ ถ้าเกิดจากอุบัติเหตุมักจะเกิดทันทีหรือภายใน 1 อาทิตย์แล้วแต่ความรุนแรงของอุบัติเหตุ
ต่อมาจะมีอาการปวดมากขึ้น ระคายเคืองในต้นคอ บ่าผู้ป่วยมักจะสะบัดคอ ดัดคอเพื่อรู้สึกโล่งไป แต่มักจะทำบ่อยขึ้นจนมีอาการร้าวลงบ่า ลงแขน ลงสะบัก (โบราณเรียกว่าสะบักจม) มีอาการเจ็บศอก เวลาหิ้วของยกของอาจเป็นด้านนอก หรือเป็นด้านในด้วยก็ได้ (เรียก Tennis elbow หรือ Polf elbow) บางทีมีอาการคล้ายข้อมือซ้น เริ่มอ่อนแรง หยิบของหลุดตก เปิดฝาขวดไม่ได้ มือไม่มีแรง ลายมือเปลี่ยน หยิบสตางค์ไม่ขึ้นจนถึงด้วยตกแตก อาจเจ็บโคนนิ้วมือ โคนหัวแม่มือเหยียดงอ ติดกึ๊กๆ (Trigger fingers)
ต่อมาจะเจ็บไหล่ นอนตะแคงไม่ได้เพราะไหล่ติดแระร้าวลงไปที่กล้านเนื้อรอบๆ ต้นแขน กล้ามเนื้อไหล่และต้นแขนข้างนั้นจะลีบลงเรื่อยๆ ส่วนมากมักจะพบบริเวณที่ประสาทกำลังถูกกดทับ ทำให้กล้ามเนื้อหน้าอกข้างนั้นลีบ แขนเสื้อตกบ่อยๆ
เป็นมากจะปวดหัวข้างเดียวหรือสองข้าง หรือปวดทั้งหัว ตาพร่าคล้ายตาอักเสบ ปวดรอบกระบอกตา ลมออกหู หายใจไม่เต็บอิ่ม เวียนหัวบ้านหมุน คลื่นไส้อาเจียนได้ ทำให้ต้องคิดไปถึงโรคเนื้องอกในสมอง, โรคตา, โรคหู-คอ-จมูก, โรคหัวใจ, โรคปอด ได้

การรักษาและป้องกัน

  • ดูแลตนเอง เพื่อป้องกัน
    • ใช้หมอนหนุนต้นคอ (ไม่ใช้หมอนแข็ง หรือสูงเกินไปหนุนหัว จะทำให้คอเสียความโค้ง เวลานอนหงายหน้าผากกระดกขึ้น เวลาตะแคงขมับจะกระดกขึ้นบ่าบน) ซึ่งจะทำให้คอเป็นรูปสะพานโค้งหน้าขนานเพดาน เวลาตะแคงส่วนแน่นของข้างหมอนจะหนุนที่ซอกคอ ทำให้ก้านคอขนานกับพื้น ขมับไม่กระดก เรื่องหมอนควรปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อจะจัดหมอนตามขนาดให้เหมาะสมกับแต่ละท่าน เพราะความยาวของคอความอ้วนของคอ ความหนาแบนของหัวและลำตัวเป็นปัจจัยในการพิจารณา
    • แก้นิสัยนอนคว่ำ เพราะคอจะบิดเป็นเวลานานๆ แรมเดือนแรมปีได้
    • ทรงผมก็มีส่วนด้วย สลัดผมไม่ให้ปิดตา ปิดหน้าบ่อยๆ เร่งให้เกิดความเสื่อมของข้อเร็วขึ้น
    • สภาพการทำงาน ต้องถูกสุขลักษณะกับผู้นั้น
    • ถ้าต้องทำงานท่าใดนานๆ ก็ให้เปลี่ยนอริยาบถสลับกัน
    • ใช้เครื่องพยุงคอ ผ้าขนหนูม้วนหน้าและแน่นยาวพอให้โอบรอบคอ เพื่อพยุงหัวไม่ให้กดประสาท และกันหัวกระเทือนเวลารถกระแทก เวลานั่งพิงคอจะไม่แอ่นกลับไปหลัง ลดน้ำหนักหัวที่คอ ต้องแบกอยู่ตลอดเวลาลงการอักเสบจะน้อยลง
    • รักษาตัวเองก่อน
      เกิดเจ็บร้าวทันทีใช้ความเย็น หลัง 24 ชม. ใช้ความร้อนอบบริเวณที่ปวดและตึง แล้วทายาแก้ปวด นอนพัก
  • ถ้าไม่หายควรปรึกษาแพทย์

เรียบเรียงโดย : ผศ.พญ.อารีวรรณ นพธัญญะ
ศูนย์ : เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ปรึกษาแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู : 02-391-0011

VAR_INCL_CK