กลุ่มอาการของโรคต้นคอและไหล่เกี่ยวข้องกับมะเร็งเต้านม

ทุกคนต้องมีความเสื่อมของกระดูกและข้อเสมอตามอายุการใช้งาน หรือมีอุบัติเหตุบริเวณต้นคอ และไหล่จะเป็นจุดที่พบบ่อย

กลุ่มอาการของโรคนี้จะมีได้ตั้งแต่เมื่อยๆ ปวดร้าวต้นคอ ลงบ่าข้างใดข้างหนึ่ง ไหล่ติดเป็นน้อยๆ จนเป็นมาก เป็นๆ หายๆ ร้าวลงต้นแขน, ลงศอก มือล้า จนถึงมืออ่อนแรง และจนถึงหยิบของตกบ่อยๆ แสดงว่าประสาทกำลังถูกกด (โดยมีอาการเจ็บน้อยกว่า) อ่อนแรง การไหลเวียนก็อาจจะผิดปกติได้

แต่ในรายผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ข้างที่เผอิญมามีอาการอย่างนี้ จะทำให้เริ่มบวมหรือบวมเพิ่มจากที่เป็นอยู่แล้ว ถ้าเป็นที่แขนข้างดีซั่งเป็นแขนหลักในการทำงานก็จะทำให้เพิ่มความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันต่อไปในวันข้างหน้า ต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ว่าท่านมีอาการโรคต้นคอ, หมอนกระดูกเคลื่อน, กระดูกต้นคอเลื่อน, เปลี่ยนรูป, กระดูกต้นคองอกกดทับประสาทจริงหรือไม่ และรับการรักษาทางกายภาพบำบัด โดยการลดการกดทับประสาทที่คอ แนะนำให้ใช้หมอนรองต้นคอที่เหมาะสมและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม + ใส่เฝือกพยุงคอ (ถ้าจำเป็น) เพื่อให้การรักษาได้ผลเร็ว และบริหารต้นคอ ไหล่ และศอกให้แข็งแรง แต่จะไม่สามารถใช้ความร้อนลึกช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อได้ (เนื่องจากเป็นมะเร็งจะไม่ปลอดภัย) ทำให้หายช้ากว่าคนอื่น + พันแขนข้างบวม + ปั้มแขนลดความบวม ต้องทบทวนว่าเมื่อท่านได้รับการผ่าตัดเต้านม + กับการรักษาอื่นๆ แล้ว

ตามที่ได้รับคำแนะนำ

  • ระวังไม่ให้ไหล่ข้างนั้นติดและบวม
  • ไหล่ไม่ติด คือ ยกกางโอบ+อ้อม ไปข้างหลังได้เท่ากับอีกข้าง
  • แขนไม่บวม ดูจากเส้นรอบวงของแขน คือ จากศอก 10 ซม. ขึ้นบนและจากศอก 10 ซม. ลงล่าง เส้นรอบวงจะพอๆ กันกับแขนอีกข้าง กล้ามเนื้อท้องแขน 2 ข้าง จะนุ่มเท่าๆ กัน
  • ไม่วัดความดัน เจาะเลือด ตลอดชีวิตที่แขนข้างนั้น
  • ไม่ให้ถูกความร้อนนาน ซ้ำซาก ตากแดดนานๆ ถูกความร้อนบ่อยๆ เช่น ทำกับข้าวหน้าเตาร้อนๆ
  • ไม่ใช้งานซ้ำซาก และนานๆ เช่น รีดผ้า และซักผ้าเป็นอ่างๆ, เล็มต้นไม้ยอดไม้
  • บางคนคิดว่าบวมก็ไม่เป็นไร ไม่เจ็บไม่ปวดแต่ดูไม่สวยเท่านั้น แต่ท่านคิดผิด การบวมถ้าเป็นนานจะลามลงข้อมือฝ่ามือ+นิ้ว ทำให้กำมือลำบาก และถ้าบังเอิญถูกยุงกัด, แมลงกัด นิ้วมือเป็นแผลจะทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิต ต้องเข้าโรงพยาบาล และผลจะทำให้แขนข้างนั้นอักเสบ แดงก่ำ+บวมมากขึ้น ทำให้การลดความบวมทำได้ลำบากยิ่งขึ้น

ความจำเป็นที่ต้องรับพบแพทย์

  • เพื่อให้หายเร็ว ยุบบวมเร็ว
  • เพื่อแก้ไขการกดประสาทที่ต้นคอที่ทำให้ปวดคอ ไหล่ ลงศอก และมือ+มืออ่อนแรง
  • เพื่อป้องกันการเกิดการบวม เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง ศอกหลวม รีบลดการบวมโดย
  • ใช้เครื่องปั้มลดบวม Z(Intermittent Pneumatic Compression) ตามด้วยการพันแขน เพิ่มแรงรัดจาปลายมือสูงขึ้นจนถึงต้นแขน
  • ยกแขนสูงกว่าระดับหัวใจ เช่น วางบนโต๊ะ หนุนหมอนยกปลายแขน+ศอกสูง นอนตะแคง ยกแขนบวมพาดบนหมอนข้างตัว งอแขนพาดหัว เพื่อให้ท้องแขนลดบวมจะนุ่มขึ้น

เรียบเรียงโดย : พญ.อารีวรรณ นพธัญญะ
ศูนย์ : เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ปรึกษาแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู : 02-391-0011

VAR_INCL_CK