การรักษาผู้ป่วยแผลเบาหวาน ด้วยการดูแลแบบครบวงจร


แผลเบาหวาน

การรักษาผู้ป่วยแผลเบาหวาน ด้วยการดูแลแบบครบวงจร

ในคนที่เป็นโรคเบาหวานและมีน้ำตาลในเลือดสูง น้ำตาลจะเป็นตัวไปทำลายหลอดเลือดและเส้นประสาทในระยะยาว ในส่วนของเส้นประสาทจะไปทำให้เกิดภาวะชาที่บริเวณเท้า ซึ่งทำให้ระบบรับรู้ความรู้สึกของอวัยวะต่างๆ เกิดการป้องกันไม่ให้ร่างกายได้รับอันตรายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะที่บริเวณเท้า เมื่อสูญเสียเส้นประสาทหรือเซลล์ประสาทเสียหายจะเกิดภาวะชา พอมีการช้าเกิดขึ้นความระมัดระวังที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุก็จะลดลง ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและทำให้การดูแลแผลลดลงประกอบกับการติดเชื้อที่สามารถติดเชื้อได้ง่ายและลุกลามอย่างรวดเร็ว เชื้อที่เป็นก็รุนแรงมากขึ้นทำให้แผลลุกลามอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเกือบ 50% ยังมีภาวะหลอดเลือดตีบตันจนเป็นปัญหาและทำให้แผลไม่หายและลุกลามรวดเร็ว

เทคโนโลยีในการรักษาแผลเบาหวานที่เท้า

การรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ เนื่องจากว่าแผลเบาหวานมีสาเหตุหลายอย่างบางครั้งสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นร่วมกัน ทั้งเรื่องของการติดเชื้อ ภาวะชา เส้นประสาทเสีย รวมทั้งภาวะหลอดเลือดตีบตัน เป้าหมายหลักของการรักษาก็คือ การแก้สาเหตุต่างๆ ด้วยการหาสาเหตุประกอบร่วมกัน เช่น การควบคุมเบาหวาน การรักษาการติดเชื้อด้วยการกำจัดเนื้อตายและให้ยาฆ่าเชื้อ การปรับเปลี่ยนในเรื่องของจุดรับน้ำหนักที่เท้า การรักษาหลอดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แผลไม่หายและลุกลาม

ในปัจจุบันมีการนำเข้าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยรักษาแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำไฮเปอร์แบริคออกซิเจนเธราพี (HBOT)เพื่อเพิ่มออกซิเจนไปเลี้ยงเพื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ในการดูแลเรื่องของแผลเพื่อจะควบคุมในเรื่องของน้ำเหลืองหรือว่าควบคุมการติดเชื้อได้ดีขึ้นและก็มีการเปลี่ยนแผลน้อยลง รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ที่ช่วยกำจัดเนื้อตายต่างๆ หรือแม้แต่การใช้หนอนเพื่อกำจัดเนื้อตาย ในกรณีที่ภาวะหลอดเลือดตีบตัน ปัจจุบันมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดจากภายใน ทำให้สามารถรักษาแผลเบาหวานที่เกิดจากการขาดเลือดได้โดยไม่ต้องตัดขา

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อลดการตัดเท้า

  1. ควบคุมเบาหวาน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มเป็นเบาหวานการควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งการเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันหรือการเกิดภาวะอาการชาต่างๆ ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดแผลในระยะยาวได้
  2. ติดตามระดับน้ำตาล รวมทั้งดูเรื่องของผลข้างเคียง ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากเบาหวาน
  3. เลือกรองเท้าให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน การเลือกรองเท้าให้เหมาะสมโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบปลายประสาทบกพร่อง เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลที่เท้าโดยเป้าหมายหลักของรองเท้าสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเพื่อกระจาย
  4. ตรวจตราเท้าอย่างสม่ำเสมอ เป็นประจำทุกวันจะทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถตรวจพบแผลที่เกิดจากอุบัติเหตุในชีวิตประจำวันได้เร็วและรักษาได้ทันท่วงที

การกายภาพบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน

1. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ยังไม่เกิดแผล แพทย์จะโฟกัสเรื่องของการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีการออกกำลังกาย ด้วยการทำให้ร่างกายแข็งแรง ทั้งนี้การออกกำลังกายด้วยการกายภาพก็คือ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นหรือเพิ่มการรับรู้ของข้อเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหรือเกิดการบาดเจ็บ อย่างไรก็ตามหากยังไม่เกิดแผลควรสำรวจบริเวณเท้า เพราะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานที่เป็นเรื้อรังนานๆ จะเริ่มมีอาการชาปลายเท้า เมื่อมีอาการชาปลายเท้าไม่ใช่ว่ามีอาการชาอย่างเดียว แต่หมายถึงการรับรู้ของข้อเริ่มน้อยลง ซึ่งในคนปกติเวลาการรับรู้ของข้อปกติเวลาเดินเตะโต๊ะเก้าอี้จะสามารถรับรู้ได้และมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย

2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เกิดแผล ถ้าเกิดแผลเบาหวานสิ่งสำคัญอันดับแรกจะต้องป้องกันไม่ให้แผลถูกกดทับ ซึ่งแผลของคนที่เป็นโรคเบาหวานมักจะเกิดบริเวณที่มีแรงกดทับหรือจุดที่ลงน้ำหนัก เพราะฉะนั้นในช่วงแรกของการกายภาพบำบัดอาจจะต้องมีการปรับรองเท้าหรืออุปกรณ์เสริมบางอย่างที่จะสามารถไปลดแรงกดของบริเวณเท้าหรือบริเวณที่เกิดแผล นอกจากนี้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะช่วยให้การสมานของแผลรวดเร็วขึ้น

ลดการสูญเสียอวัยวะจากโรคเบาหวาน

การจะลดการสูญเสียของการตัดเท้า เนื่องจากส่วนใหญ่ที่จะต้องตัดเท้าคือมีแผลเรื้อรังแล้วก็รักษายังไม่หายสักทีจนกระทั่งมีการติดเชื้อเข้าไปในกระดูกก็เลยทำให้แผลหายยากสุดท้ายก็จบด้วยการสูญเสียเท้า ทั้งนี้ในเรื่องของการทำเวชศาสตร์ฟื้นฟูแพทย์จะเน้นเมื่อเกิดแผลขึ้นแล้วหากตรวจพบได้เร็ว เจอเร็ว รักษาได้เร็ว ก่อนที่จะสูญเสียอวัยวะไปก็จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

อย่างก็ไรก็ตามผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ละรายจะได้รับการบำบัดฟืนฟู โดยจะเน้นถึงการดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ พร้อมกับเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อน เช่น เส้นประสาทที่ต้องให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งยังต้องพบแพทย์และนักกายภาพเพื่อประเมินลักษณะของเท้าของตัวเองในกรณีที่อาจมีรูปเท้าผิดปกติหลายรูป อีกทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานบางราย ถึงแม้ว่าเท้ายังไม่เกิดแผลแต่อาจมีอาการเท้าชาโดยไม่รู้ตัว หากปล่อยไว้อาจส่งผลให้บาดแผลที่เท้า ซึ่งควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเท้าอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดแผล ตลอดทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกไม่น้อย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิบัติหลังจากแพทย์วินิจฉันแล้วว่าเป็นโรคเบาหวาน

อย่างก็ไรก็ตามผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ละรายจะได้รับการบำบัดฟืนฟู โดยจะเน้นถึงการดูแลตัวเองแต่เนิ่นๆ พร้อมกับเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อน เช่น เส้นประสาทที่ต้องให้ทำงานเป็นปกติ รวมทั้งยังต้องพบแพทย์และนักกายภาพเพื่อประเมินลักษณะของเท้าของตัวเองในกรณีที่อาจมีรูปเท้าผิดปกติหลายรูป อีกทั้งผู้ป่วยโรคเบาหวานบางราย ถึงแม้ว่าเท้ายังไม่เกิดแผลแต่อาจมีอาการเท้าชาโดยไม่รู้ตัว หากปล่อยไว้อาจส่งผลให้บาดแผลที่เท้า ซึ่งควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเท้าอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดแผล ตลอดทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อีกไม่น้อย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิบัติหลังจากแพทย์วินิจฉันแล้วว่าเป็นโรคเบาหวาน


นพ. สุทัศน์ ฮ้อศิริมานนท์

นนพ. สุทัศน์ ฮ้อศิริมานนท์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด

    

นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช

นพ.วรวัฒน์ เอียวสินพานิช
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์ศัลยกรรม
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

facebook instagram line youtube
VAR_INCL_CK