“ปวดเข่า-เข่าโก่ง” จากข้อเข่าเสื่อม ใช้เทคโนฯ ผ่าตัดซ่อมเข่า แทนการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

คนไข้

“ปวดเข่า-เข่าโก่ง” จากข้อเข่าเสื่อม รพ.สุขุมวิท ใช้ “เทคโนฯ ผ่าตัดซ่อมเข่า” แทนการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ช่วยเก็บเข่าเดิมไว้ใช้ต่อ!!

เรื่องปวดเข่าเป็นเรื่องที่หลายๆ คนต้องเจอ และเป็นปัญหาที่ทำให้การใช้ชีวิตมีความยากลำบากมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ยืน หรือนั่ง ก็อาจจะเจ็บปวดไปหมด วันนี้เรามีตัวอย่างของคนที่เคยเจ็บเข่า แต่ผ่านการซ่อมเข่ามาและสามารถมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยจะมีการรักษาอย่างไรนั้น ลองมาดูกันดีกว่าค่ะ

“คุณ นคร วีระประวัติ” อดีตหัวหน้าข่าวบันเทิง “นสพ.เดลินิวส์” ปัจจุบันมีอายุ 71 แต่ยังมีบทบาททางสังคมโดยการรับตำแหน่ง “ประธานชมรมวิจารณ์บันเทิง และ กรรมการสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ” ทำให้มีภาระในการดูแลงานในความรับผิดชอบที่ต้องไปประชุมเป็นส่วนใหญ่ทั้งที่กระทรวงวัฒนธรรมบ้าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาบ้าง...แต่ด้วยอุปสรรคเรื่อง“หัวเข่า” ทั้ง 2 ข้างที่ออกอาการปวดน้อย ๆ ในตอนแรก ก็กลับมีอาการปวดในตอนหลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

“...ประมาณซัก 2-3 ปีมาแล้วเวลานอนเรารู้สึกว่าจะได้ยินเสียงแบบก็อบแก็บ ๆ เหมือนกับกระดูกขัดกันตรงหัวเข่า ก็เลยเล่าให้คุณหมอผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งคนรู้จักเขาก็บอกว่ามันเป็นไปตามวัย ก็เลยต้องลองรักษาโดยทีแรกมีคนรู้จักแนะให้ดื่มน้ำสกัดจากมังคุดเพื่อให้ช่วยไปหล่อเลี้ยงในหัวเข่า แต่พอลองไปได้ 4-5 วัน กลับปรากฏว่าไอ้ความปวดเข่าข้างที่เคยมีระดับธรรมดา ปวดเล็กน้อยก็กลายเป็นปวดมากขึ้น แถมยังลามไปปวดอีกข้างด้วยทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นอะไรเลย ซึ่งก็สงสัยว่าทำไมเป็นอย่างนี้ จากนั้นจึงไปรักษาด้วยการทำกายภาพและรักษาโดยการกินยาตามคำแนะนำของหมอ แต่ความปวดก็ยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแม้จะไม่ถึงกับต้องหยุดนั่งอยู่กับที่เฉย ๆ แต่ก็ค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงปรึกษาหมอที่ผมรู้จักหลายๆคน

ก็ได้รับคำแนะนำให้ทานยาขนานนั้นบ้างขนานนี้บ้าง แต่ก็ยังมีอาการปวดอยู่อย่างเดิม คิดจะผ่าเปลี่ยนข้อเข่าใหม่ก็ยังหวงเข่าที่พ่อแม่ให้มา แต่เมื่อเวลาไปไหนที่ต้องเดินขึ้น-ลงบันไดเพราะไม่มีลิฟต์ใช้ก็ทรมานสุด ๆ ...บังเอิญโชคดีที่ผมยังเขียนคอลัมน์ในเดลินิวส์ทำให้ได้อ่านอุ่นใจ...ใกล้หมอและทราบว่าโรงพยาบาลสุขุมวิทใช้เทคโนโลยีผ่าตัดซ่อมเข่าเฉพาะส่วนที่ชำรุด สึกหรอจนใช้การต่อไม่ได้แล้ว หรือเรียกว่าการทำ UKA ซึ่งหลังจากซ่อมแล้วจะมีโอกาสใช้งานได้ต่อ อีกประมาณอย่างน้อย 20 ปี จึงติดต่อขอนัดไปปรึกษาที่โรงพยาบาลสุขุมวิท ซึ่งคุณหมอได้ตรวจโดยเอกซเรย์เข่าทั้ง 2 ข้างพร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมจนสิ้นสงสัยก็เลยแจ้งคุณหมอว่าพร้อมให้ผ่าซ่อมเข่าทั้ง 2 ข้างไปพร้อมกันเลย จากนั้นคุณหมอจึงส่งไปตรวจสุขภาพเพื่อดูความพร้อมสำหรับการผ่าตัดโดยมีทั้งตรวจ คลื่นหัวใจ X-ray ปอด เจาะเลือดจนได้ผลออกมาว่าไม่มีปัญหาก็นัดวันผ่าตัดกันตามนั้นเลยครับ...”

คุณหมอแจงเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อ “ผ่าตัดซ่อมเข่า”

แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ ประจำ โรงพยาบาลสุขุมวิท” ซี่งเป็นแพทย์เจ้าของไข้ในราย “คุณนคร” จะมาอธิบายให้ความกระจ่างสำหรับภาวะอาการ “เข่าเสื่อม-ปวดเข่า” ที่มาพร้อมกับวัยที่สูงขึ้นและส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความทุกข์ทรมานเมื่อต้องเดินเหิน ยืน และขึ้นลงบันได...การตรวจในเบื้องต้นที่ คุณหมอให้ข้อมูลจะประกอบด้วยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ก่อนทำการตรวจด้วยเอกซเรย์เพื่อพิจารณาว่าผิวกระดูกอ่อนสึกมากเพียงใด โดยในกรณีของสื่อฯ อาวุโสท่านนี้ พบว่าผิวกระดูกอ่อนสึกไปหมดจากทางด้านในทั้งเข่าซ้ายและเข่าขวา ทำให้กระดูกเข้ามาชิดกันซึ่งถือว่าเป็นข้อเข่าเสื่อมที่เป็นมากจนไม่อาจแก้ไขด้วยวิธีอื่นนอกจากการผ่าตัดจึงจะเป็นโอกาสให้หายขาดจากอาการที่เจ้าตัวเผชิญอยู่ โดยคุณหมอให้รายละเอียดว่า

...ในรายนี้ได้เลือกวิธีการผ่าตัดแบบใหม่ที่แตกต่างจากการรักษาข้อเข่าเสื่อมทั่ว ๆ ไปที่ใช้กันมาตั้งแต่อดีตซึ่งมักจะใช้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมให้ผู้ป่วย ซึ่งเราพบว่าวิธีผ่าตัดแบบดั้งเดิมนี้จะมีปัญหาหลายอย่าง คือ ในแง่ของการใช้งานไม่ค่อยเหมือนธรรมชาติ การนั่งยอง ๆ คุกเข่า พับเพียบ หรือขัดสมาธิ การงอเข่าเยอะ ๆ ก็ทำไม่ค่อยได้ รวมทั้งการออกกำลังกายหรือวิ่งก็ทำไม่ค่อยได้เช่นกัน เราจึงเลือกวิธีการผ่าตัดแบบใหม่ให้ที่เรียกว่า การผ่าตัดซ่อมเข่าหรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการว่า การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) มาผ่าตัดให้ผู้ป่วยรายนี้ ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดแบบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทยไม่กี่ปีนี้เองโดยอาศัยหลักการคือพยายามเก็บเข่าเดิมเอาไว้ให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด จะตัดเฉพาะส่วน ผิวข้อที่สึกออกบางๆ ขนาดประมาณ 2.5x5 เซนติเมตรเท่านั้น แล้ววางทดแทนด้วยอะไหล่ที่เป็นผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน เฉพาะส่วนที่สึกเข้าไป โดยที่เรายังเก็บเอ็นไขว้หน้า เอ็นไขว้หลัง หมอนรองเข่าส่วนที่ยังดี กระดูกอ่อนส่วนที่ยังดีกับลูกสะบ้าสามารถเก็บไว้ได้หมด เพราะฉะนั้นการผ่าตัด UKA หรือที่ผมเรียกว่าการซ่อมเข่า จะช่วยให้คนไข้ยังได้ใช้เข่าเดิมที่เป็นเข่าธรรมชาติ การใช้งานก็จะเหมือนธรรมชาติมากกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบเดิม…”

คนไข้

อีกประเด็นที่คุณหมออธิบายไว้ด้วยคือ “ระยะเวลาที่เหมาะสม” สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาด้วยเทคโนโลยีผ่าตัดซ่อมเข่า หรือ UKA ดังที่อธิบายมานี้ ต้องพิจารณาถึงความเสื่อมของข้อเข่าที่อาจมีข้อจำกัดบางประการ เช่นเข่าโก่งมาก...เข่างอได้น้อย...มีหินปูนติด...กระดูกงอกติดมาก ๆ หรือมีน้ำหนักตัวมาก ๆ เหล่านี้จะเป็นอุปสรรคสำหรับการรักษาแบบด้วยการซ่อมเข่า เพราะฉะนั้นผู้ที่ประสงค์จะรักษาภาวะอาการ “เข่าเสื่อม-ปวดเข่า” ด้วยการผ่าตัดซ่อมเข่าดังที่กล่าวมานี้ จึงไม่ควรปล่อยให้เข่าเสื่อมมากเกินไป หากท่านใดรู้ตัวว่าเข่าเสื่อมแล้วควรรีบปรึกษาหมอโดยไวเพื่อให้เข่าเสื่อมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่หนักหนารุนแรงมากเกินไปเพื่อจะได้มีโอกาสให้แพทย์ผ่าตัดซ่อมเข่าแบบ UKA ได้เพื่อเก็บเข่าเดิมเอาไว้ใช้งานได้เหมือนธรรมชาติต่อไป

ผู้ป่วยตอกย้ำความพอใจหลังผ่าตัดซ่อมเข่า

ซึ่งหลังจากเข้ารับการผ่าตัดและได้เข้ารับการดูแลทำกายภาพจาก “ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.สุขุมวิท” เป็นเวลา 3 วันคุณนครได้กล่าวว่า

จริง ๆ แล้วผมประทับใจทั้ง..คุณหมอที่ดูเรื่องหัวใจ...ฝ่ายพยาบาล และผู้ช่วยด้านต่าง ๆ ของโรงพยาบาลสุขุมวิท ที่ได้สร้างความประทับใจจนทำให้ผมตั้งใจไว้เลยว่าจะแนะนำให้คนอื่นมารักษาอาการปวดเข่าแบบเดียวกันนี้ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ผมหายปวด เดินได้เป็นปกติแล้วยังแก้ปัญหาขาโก่งให้ผมกลับมายืนตัวตรงขาตรงได้เหมือนสมัยก่อนอีกด้วย ขอบคุณอย่างยิ่งครับ...”
#ปวดเข่า #เข่า #เข่าโกง #ผ่าตัดซ่อมเข่า #ข้อเข่าเทียม #เข่าเสื่อม #UKA


คลิกที่นี่เพื่อทำแบบประเมินระดับความรุนแรงของ โรคข้อเข่าเสื่อม
( Oxford Knee Score )



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

 

facebook instagram line youtube
VAR_INCL_CK