Carotid Duplex Ultrasound การตรวจหลอดเลือดที่คอ มีส่วนช่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร ?


หลอดเลือดที่คอ

Carotid Duplex Ultrasound การตรวจหลอดเลือดที่คอ มีส่วนช่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างไร ?

Carotid Duplex Ultrasound เป็นการตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ ( Common Carotid Artery) ที่ไปเลี้ยงส่วนใหญ่ของสมอง ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อตรวจดูการไหลเวียนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมอง และตรวจหลอดเลือดว่ามีคราบหินปูนหรือคราบไขมัน ( Plaque) เกาะอยู่ภายในหลอดเลือดหรือไม่ และสามารถวัดขนาดของ (Plaque) ได้ เพราะเมื่อมีการหนาตัวมากขึ้น จะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก และอาจทำให้เส้นเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงสมองเกิดการตีบหรือตัน เพื่อหาความผิดปกติของเส้นเลือดที่คอว่ามีการอุดตันของลิ่มเลือดที่คอ ว่ามีการอุดตันที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดหนาเท่าไหร่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการสมองขาดเลือด การตรวจนี้สามารถช่วยในการวินิจฉัยและการรักษาหลอดเลือดแดงในระยะเริ่มต้นสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้ ช่วยประเมินผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต ในการวินิจฉัยติดตามสภาพของหลอดเลือดในสมองของผู้ป่วยในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในห้องผู้ป่วยหนักได้ โดยการตรวจดังกล่าว ไม่มีผลข้างเคียง , ปลอดภัย , ไม่เจ็บปวด , ทำซ้ำได้โดยไม่อันตราย

การตรวจหลอดเลือดใหญ่ที่คอ Carotid Duplex Ultrasound สำหรับการตรวจอัลตร้าซาวด์ เหมาะกับการตรวจหาภาวะความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และอาการเหล่านี้

  • ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อดูรอยโรคของหลอดเลือดแดง Carotid และติดตามผลเป็นระยะ

  • ผู้ป่วยที่เคยมีอาการสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว

  • ผู้ป่วยที่มีเสียงฟู่ผิดปกติที่หลอดเลือดแดง Carotid ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่มีการขาดเลือดเฉพาะที่

  • ผู้ที่ต้องผ่าตัดโรคหลอดเลือดอื่นๆ เช่น ผ่าตัดต่อหลอดเลือดแดงหัวใจในรายที่มีหลอดเลือดแดงหัวใจอุดตัน เพื่อตรวจประเมินค่าก่อนนำผู้ป่วยไปผ่าตัด

  • ตรวจสุขภาพเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีประวัติเป็น โรคความดันโลหิตสูง , เบาหวาน , ไขมันใน เลือดสูง หรือผู้ที่มีประวัติมีบุคคลในครอบครัวเป็นอัมพาต จากอาการสมองขาดเลือด (Stroke) หรือโรคหัวใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดหัวใจ

อาการที่สงสัยว่าอาจมีการตีบของเส้นเลือด Carotid

  • ตาบอดเพียงส่วนหนึ่งของตา มักจะเป็นข้างเดียว อาจเป็นเพียงชั่วคราว เพราะลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดไป Retina ถ้าแพทย์ดูในลูกตาอาจเห็นเส้นเลือดที่อุดตัน
  • เป็นอัมพาตแขนขา หรือ พูดไม่ออก นึกออกแต่พูดไม่เป็นคำพูด แต่เป็นอยู่ไม่นาน อาจเพียงไม่กี่นาทีไม่กี่ชม. แล้วหายเอง เพราะลิ่มเลือดที่หลุดไปสมองเล็กมาก
  • เวลายิ้มพบมุมปากข้างหนึ่งตก
  • เป็นลม ล้มลงโดยไม่มีสาเหตุ

มีวิธีการตรวจอย่างไร ?

การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงคือ คลื่นเสียงที่สะท้อนกลับจากการกระทบกับเม็ดเลือดที่กำลังเคลื่อนอยู่ในหลอดเลือดแล้วส่งภาพให้แพทย์เห็นความหนาของผนังหลอดเลือด เพื่อตรวจหาจุดที่มีการเกาะของไขมัน หินปูน หรือลิ่มเลือดเพื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ เพื่อหาจุดที่มีปัญหาบนหลอดเลือด นอกจากจะสามารถบอกทิศทางการไหลของเลือดแล้ว ยังสามารถคำนวณความเร็วได้ ซึ่งจะนำไปใช้บอกความรุนแรงของการตีบแคบของหลอดเลือด

การปฏิบัติตัวก่อน-หลัง

  • ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร
  • ไม่ต้องเตรียมตัวใดๆ ทั้งก่อน-หลังตรวจ
  • ไม่มีข้อห้ามในการปฏิบัติตัวก่อน-หลังตรวจ
  • ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจ 30-45 นาที


แพทย์หญิงจักษณี วรนุชกุล

แพทย์หญิงจักษณี วรนุชกุล
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านสมองและระบบประสาท




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์อายุรกรรม
ชั้น 1B โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 225-227


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK