นักกีฬาวัย 62 ปี หายปวดทรมาน จากอาการปวดหลังช่วงล่าง ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก

คนไข้

นักกีฬาวัย 62 เจอหมอนรองกระดูกฯ แตกกดทับเส้นประสาท ปวดจนปัสสะวะไม่ได้!! รพ.สุขุมวิท รักษาด้วยเทคนิคส่องกล้อง แผลเล็กน้อยกว่า 1 cm. คีบชิ้นส่วนช่วยให้พ้นทรมาน


ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีก้าวหน้าและพัฒนายิ่งขึ้น รวมถึงวิวัฒนาการการแพทย์ทันสมัย ทำให้ผู้สูงอายุแก่ตัวช้า หรืออายุยืนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Young Old วัยเข้าสู่ผู้สูงอายุที่ยังมีพลังในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสนุกกับกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการเกษียณอายุที่ช้าลง ในช่วงวัย 60 – 75 ปี ทำให้ยังดำเนินชีวิตเหมือนช่วงวัยทำงาน โดยยังทำกิจกรรมต่างๆอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การออกกำลังกาย การท่องเที่ยง หรืออื่นๆ ที่ลืมระวังเรื่องการใส่ใจในการดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อหลัง หรือกระดูกสันหลังที่ไม่ได้ยืนหยุ่นเหมือนดังเดิม โดยสภาพร่างกายเสื่อมสภาพไปตามวัย โดยอาจปวดตามกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้ง่าย หากเล่นกีฬาผิดท่า หรือใช้ร่างกายหนักเกินไป อาจเกิดภาวะปวดหลังรุนแรง หมอนรองกระดูกเสื่อม หมอนรองกระดูกแตกหรือเคลื่อนได้ โดย “คุณสุรพล ณรังศิลป์” วัย 62 ปี หนึ่งในคนไข้แผนกศูนย์โรคกระดูกสันหลัง ซึ่งแม้จะพ้นวัยเกษียณแล้ว แต่ด้วยความที่ยังออกกำลังกายเป็นประจำเรื่อยมาตั้งแต่ยังหนุ่ม ที่ช่วยให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสามารถประกอบภารกิจการงานได้เหมือนยังอยู่ในวัยทำงาน แถมยังใช้ชีวิตยามเย็นหลังเลิกงานด้วยการออกกำลังสารพัดอย่าง ตั้งแต่โยคะ เดินสายพาน ซิต-อัพ หมุนเวียนสลับสับเปลี่ยน และพอถึงวันหยุดสุดสัปดาห์ก็หันไปปั่นจักรยานอีกต่างหาก...ไม่ว่าจะเป็น “เสือหมอบ” หรือ “เสือภูเขา” ก็มาเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อขาซ้ายขึ้นมาโดยไม่อาจคาดเดาถึงสาเหตุได้ เนื่องจากไม่เคยมีโรคประจำตัวมากวนตัวกวนใจแต่อย่างใด จึงสันนิษฐานว่าเป็นเพราะ “กล้ามเนื้ออักเสบ” จากการออกกำลังกายเป็นประจำ และมีเพื่อนแนะนำให้ลองทานยาชนิดหนึ่งซึ่งเคยทานแล้วเห็นผล แต่เมื่อซื้อหามาลองทานไป 3 เม็ดก็ไม่ดีขึ้น ทำให้ต้องไปหาหมอที่ รพ.แห่งหนึ่งและหลังจากเข้ารับการเอกซเรย์แล้วได้ทราบว่าหมอนรองกระดูกสันหลัง 2 ข้อซึ่งมีขนาดความสูงลดลงเกือบครึ่งจากภาวะปกติ แสดงว่ามีการปลิ้นไปกดทับเส้นประสาทจึงเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง และมีอาการปวดขาขึ้น ซึ่งคำแนะนำที่ได้รับในเบื้องแรกคือให้ทำกายภาพบำบัดควบคู่กับการทานยาแก้ปวด ยารักษาปลายประสาทไปด้วย แต่เมื่อทำไป 2 วันอาการปวดได้เพิ่มมากขึ้นถึงขนาดต้องร้องขอยาที่แรงกว่าเดิมและได้รับการฉีดยาซึ่งต้องร้องขอยาฉีดทุกวันเพราะปวดจนยาเม็ดเอาไม่อยู่ ผลสุดท้ายจึงตัดสินใจย้ายไปรักษาที่ รพ.อีกแห่ง โดยนำแผ่นซีดีบันทึกผลการทำ MRI ไปให้วินิจฉัยด้วยแต่ด้วยความที่อาการปวดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยยังไม่ได้รับการรักษา ทำให้ภรรยากับบุตรชายช่วยกันค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จึงได้พบรายละเอียดการรักษาของ รพ.สุขุมวิท จึงได้นัดปรึกษากับนพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกสันหลัง

"หลังจากที่ อ.พูนศักดิ์ เปิดดูซีดีแล้วได้อธิบายว่าปัญหาอยู่ที่หมอนรองกระดูกฯ 2 ข้อซึ่งปกติจะสูง 11 มิลลิเมตร ซึ่งมีสภาพแตกออกเป็นชิ้นย่อยเหลืออยู่แค่ 6 มิลลิเมตร และเศษกระดูกที่แตกเป็นชิ้น ๆ ได้หล่นไปรบกวนเส้นประสาท จึงเป็นสาเหตุของการปวดหลังรุนแรงขึ้น จึงจำเป็นต้องรีบรักษาด้วยการผ่าตัดตรงนี้ก่อน ส่วนข้อที่มีหมอนรองกระดูกฯ ปลิ้นอย่างเดียวโดยไม่มีเศษหมอนรองกระดูกสามารถปล่อยไว้ก่อนได้...ซึ่งเป็นข้อมูลที่เพิ่งได้ทราบแม้ว่าคุณหมอจาก รพ.ก่อนหน้านี้ก็ได้วินิจฉัยโดยใช้ซีดีแผ่นเดียวกัน แต่ไม่มีใครพูดว่ามีเศษหมอนรองกระดูกไปรบกวนเส้นประสาทเหมือนกับที่ อ.พูนศักดิ์ อธิบายเลยครับ"

และนี่คือเหตุจูงใจที่ทำให้ครอบครัว “ณรังศิลป์” ตัดสินใจโทร.ติดต่อขอให้ “รพ.สุขุมวิท” ส่งรถพยาบาลไปรับตัวผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเข้ารับการรักษาที่ รพ.สุขุมวิท ทันที

รู้เทคนิคผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กน้อยกว่า 1 cm. ช่วยให้ง่ายขึ้น

นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกสันหลัง กล่าวถึงการวินิจฉัยกรณีของผู้ป่วยรายนี้อย่างไร?

"คนไข้มาด้วยเรื่องอาการปวดหลังรุนแรง...ปวดร้าวลงขาซ้าย ปกติคุณสุรพลเป็นคนที่ค่อนข้างที่จะแอคทีฟ เป็นคนที่ค่อนข้างจะออกกำลังกายเป็นประจำ แต่เมื่อ 5 วันก่อนที่จะมีอาการ ออกกำลังกายค่อนข้างเยอะจนมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรงหลังจากนั้นได้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งโดยได้รับการวินิจฉัยหลังจากได้รับการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แล้วก็พบว่ามีหมอนรองกระดูกแตกออกมา...ที่ผมเห็นลักษณะการแตกก็รู้สึกได้ว่าค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากคุณสุรพลเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องกระดูกสันหลังเสื่อมมาก่อน ตัวหมอนรองกระดูกเสื่อมมาก่อน ลักษณะการแตกขึ้นมานี้เกิดหลังจากที่หมอนรองกระดูกเสื่อมแล้ว พอแตกแล้วยังไปกดทับเส้นประสาทตรงบริเวณข้อที่ 3 ที่ 4 ตรงเอว แล้วกดมาตรงเส้นประสาทที่ขาซ้าย จึงทำให้คุณสุรพลปวดค่อนข้างรุนแรงมาก จนต้องนอนพักที่โรงพยาบาลที่ไปมาก่อนนั้นเลยเพราะไม่สามารถกลับบ้านได้ หลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้วก็ได้แนะให้คุณสุรพลรักษาด้วยการผ่าตัดแบบมาตรฐาน คือการผ่าตัดเปิดด้านหลังแล้วก็มีการใส่สกรูเพื่อยึดข้อกระดูก แต่เนื่องจากคุณสุรพลมีความกังวลกับการผ่าตัดใหญ่จึงได้ขอย้ายไปอยู่ที่โรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง ซึ่งไปอยู่ได้ 2 วันก็เจอความปวดมากจนต้องใช้ยาแก้ปวดต้องใช้ยาฉีดตลอดเวลา ไม่สามารถลุกขึ้นปัสสาวะเองได้ต้องใส่ท่อปัสสาวะไว้เลย จากนั้นภรรยาคุณสุรพลได้ค้นข้อมูลและพบว่ามีการรักษาแบบส่องกล้องที่โรงพยาบาลสุขุมวิทจึงมาปรึกษา และนำผล MRI มาให้ดูจึงพบว่ามีการแตกของหมอนรองกระดูกข้อที่ 3 ที่ 4…ลักษณะของการแตกก็จะมีส่วนหัวแตกออกมา 2-3 ชิ้นใหญ่ ๆ ซึ่งเป็นการแตกที่ค่อนข้างจะรุนแรง ก็เชื่อได้เลยว่าจะต้องมีอาการปวดค่อนข้างมาก จึงแนะนำว่าลักษณะเช่นนี้ควรรีบเข้ารับการผ่าตัด โดยปัจจุบันมีเทคนิคการส่องกล้องเพื่อเอาเศษหมอนรองกระดูกฯ ออกมา จะได้ไม่บาดเจ็บมาก และอาจไม่ต้องใส่สกรูยึด ซึ่งหลังจากปรึกษากันในครอบครัวแล้ว ทางครอบครัวคุณสุรพลก็ได้ตัดสินใจให้ย้ายคุณสุรพลเข้ามารับการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีส่องกล้องที่ รพ.สุขุมวิท โดยเทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องจะผ่านเข้าไปที่ช่องกระดูกสันหลังที่ 3 และ 4 โดยได้สอดกล้องเข้าไปนำเอาเศษหมอนรองกระดูกที่แตกออก 2-3 ชิ้นนี้ออกมา...สรุปว่า หลังจากผ่าตัดแล้ววันรุ่งขึ้นก็อาการปวดหลังและขาทุเลาลงมากเลย คนไข้ก็ไม่มีการปวดขาแล้ว มีปวดหลังเล็กน้อยจากแผลเท่านั้นเอง ทั้งยังยืนและเดินเข้าห้องน้ำได้ ซึ่งถือว่าการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีส่องกล้องนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี”

ข้อดีของเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้องด้วย Endoscopic Spinal Surgery

  • การผ่าตัดส่องกล้อง แผลเล็กน้อยกว่า 1 ซม.
  • การผ่าตัดส่องกล้องไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ และไม่ต้องเลาะกล้ามเนื้อหลังทำให้ลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นต่างๆ ผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันทีหลังการผ่าตัดวันถัดไป
  • หลังการผ่าตัดสามารถทำกายภาพควบคู่ได้ทันที
  • เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว ระยะเวลาในการผ่าตัดน้อยลง
  • ระยะเวลาในการพักฟื้นที่โรงพยาบาลน้อยลง ประหยัดค่าใช้จ่าย


VDOYOUTUBE อาการปวดหลังเพราะกระดูกสันหลังเสือมและแตก



VDOYOUTUBE ยิ่งสูงวัยยิ่งต้องดูแลใส่ใจกระดูกสันหลัง“ปวดหลัง”อาการทั่วไปที่พบได้บ่อยในกลุ่ม“Young Old”


นพ. พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส

นพ. พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคกระดูกสันหลัง




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK