New Normal ยุคที่ต้องใส่ใจสุขภาพ

New Normal ยุคที่ต้องใส่ใจสุขภาพ

จากภาวะปัจจุบันที่อะไรก็เกิดขึ้นได้ กับเหตุการณ์ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้การดูแลสุขภาพและเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ พร้อมการปรับตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหากป่วยเรื้อรังด้วยแล้ว อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือโรคอื่นๆ ที่ก่อให้ภูมิคุ้มกันต่ำด้วยแล้ว ยิ่งส่งผลให้เราเกิดโรคง่ายขึ้น หรือมีอาการของโรครุนแรงกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ดังนั้นสิ่งสำคัญพื้นฐานด้านสุขภาพเราทั้งหลายจึงไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง กับพื้นฐานสุขภาพเหล่านี้ ที่หากปล่อยปละละเลยไม่ดูแลสุขภาพด้วยแล้ว อาจก่อให้เกิดโรคและผลแทรกซ้อนที่อันตรายตามมา

ระดับไขมันในเส้นเลือด (Total Cholesterol)


ค่าไขมัน (Total Cholesterol) ปกติไม่ควรมีค่าเกิน 200 มก./ดล. ประกอบด้วยไขมันหลายประเภท เช่น

  • ไขมันชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL) ชนิดไม่ดี ไขมันชนิดนี้หากมีในปริมาณที่สูงจะไปเกิดการสะสมในผนังหลอดเลือดแดง ทำให้มีการตีบตัน หรือแข็งตัว ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองได้
  • ไขมันชนิดความหนาแน่นสูง (HDL) ชนิดดี ไขมันชนิดนี้หากมีปริมาณที่สูงยิ่งส่งผลดี ต่อสุขภาพ เพราะช่วยทำหน้าที่ขจัดไขมันอันตราย ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งไขมันชนิดนี้สามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกาย

ระดับความดันโลหิต (Blood Pressure)



ความดันโลหิต เกิดจากหัวใจสูบฉีดเลือด ออกซิเจน และสารอาหารผ่านหลอดเลือดแดงในร่างกายไปยังส่วนต่างๆ โดยความดันโลหิต คือ แรงดันของเลือดที่ดันต้านกับผนังเส้นเลือดแดง หากมีความดันโลหิต และสูงจะส่งผลต่อหลอดเลือด ค่าความดันโลหิตปกติไม่ควรเกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอท ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดไว้หากมีความดันโลหิตเกินกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หากปล่อยให้ค่าความดันสูง อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อหลอดเลือดในร่างกาย และทำให้หลอดเลือดเสียหาย เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้ อีกทั้งอาการของโรคความดันโลหิตสูง ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ หากปล่อยไว้โดยไม่รู้ว่าตนเองมีอาการดังกล่าว อาจส่งผลเสียต่อร่างกายและเกิดภาวะฉุกเฉิน อาจก่อให้เกิดอัมพฤต อัมพาตได้

ป้องกันดูแลระดับความดันโลหิตได้อย่างไร?

  • หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มันและเค็มจัด
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • งดสูบบุหรี่ และงดสุรา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

ระดับน้ำตาล ในเลือด (Blood Glucose)



ปริมาณน้ำตาลในเลือด หากปล่อยไว้ให้ปริมาณน้ำตาลในร่างกายในเลือดสูงขึ้น โดยค่าปกติไม่ควรเกินกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และหากเกินกว่า 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่ามีภาวะเบาหวาน ซึ่งหากไม่มารับการตรวจ ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบว่าเป็นเบาหวาน เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่พบอาการผิดปกติ หากไม่รีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และรับการรักษาที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา โดยโรคเบาหวานมักสัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง และมักตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา ยิ่งปล่อยให้มีโรคเรื้อรังมากเท่าไหร่ จะยิ่งส่งผลให้เกิดโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง


ป้องกันดูแลระดับน้ำตาลในเส้นเลือด ได้อย่างไร?

  • ลดการรับประทานอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาล
  • รับประทานผัก ผลไม้ เพิ่มกากใยอาหาร
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกาย
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

วัคซีนป้องกัน เพราะป้องกันดีกว่ารักษา



วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพองและ ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถช่วยป้องกันโรคได้ถึง 70-80% ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน และลดการเกิดความรุนแรงของโรค ในบุคคลที่ไม่มีโรคเรื้อรังก็สามารถฉีดได้เช่นกัน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลใกล้ชิด

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ในผู้ป่วยโรคไตที่ได้รับการฟอกไต รวมไปถึงผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือดบ่อยๆ นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาให้ในผู้ที่มีโรคหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคตับแข็ง โรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ไม่มีโรคเรื้อรังก็แนะนำให้ฉีดวัคซีนเช่นกัน

วัคซีนป้องกัน (HPV) สามารถช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสุภาพสตรีได้ในสายพันธุ์ที่ครอบคลุมของวัคซีน HPV ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และในกลุ่มชายรักร่วมเพศ พบว่าช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีบริเวณทวารหนักและ มะเร็งของทวารหนัก

วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix) สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16, 18 สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 70

วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil) สามารถป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16, 18 สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 70 และป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ถึงร้อยละ 90

วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เหมาะสำหรับในผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไต สูบบุหรี่ หรือดื่มสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ และผู้สูงอายุที่เกิน 65 ปีขึ้นไป โดยในประเทศไทยมีวัคซีน 2 ชนิด คือ

  1. วัคซีนป้องกันปอดอักเศษจากเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต 13 สายพันธุ์
  2. วัคซีนป้องกันปอดอักเศษจากเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดโพลีแซคคาไรด์ 23 สายพันธุ์ แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันในการป้องกันโรค

วัคซีนป้องกันงูสวัด เป็นวัคซีนเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ทั้งที่มีประวัติเคยเป็นและไม่เคยเป็นงูสวัดหรืออีสุกอีใสมาก่อน โดยมีข้อห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง พบว่าการฉีดวัคซีนช่วยลดโอกาสการเกิดงูสวัด 51% และลดการเกิดอาการปวดตามแนวเส้นประสาทจากงูสวัดได้ 66.5%

วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ โรคนี้ติดต่อทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีอาชีพประกอบอาหาร หรือผู้อาศัยอยู่ในที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด รวมถึงกลุ่มชายรักร่วมเพศ และผู้ใช้สารเสพติด เพื่อลดโอกาสการเกิดตับอักเสษจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ

วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ แนะนำให้ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุทุกคนหลังจากได้รับวัคซีนบาดทะยักครบในวัยเด็กตามเกณฑ์การฉีดวัคซีน ควรฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน



วัคซีนป้องกัน (HPV) สามารถช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสุภาพสตรีได้ในสายพันธุ์ที่ครอบคลุมของวัคซีน HPV ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก และในกลุ่มชายรักร่วมเพศ พบว่าช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีบริเวณทวารหนักและ มะเร็งของทวารหนัก

วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix) สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 16, 18 สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกมากกว่าร้อยละ 70

วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil) สามารถป้องกันไวรัส HPV สายพันธุ์ 16, 18 สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 70 และป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ได้ถึงร้อยละ 90


การดูแลสุขภาพช่องปาก



การดูแลสุขภาพช่องปากอาจดูเป็นเรื่องปกติ และหลายคนมองข้าม แต่การปล่อยปละละเลยจนเกิดการอักเสบในช่องปากและฟัน หรือการปล่อยให้ฟันผุนั้น อาจส่งผลเสียให้กับสุขภาพร่างกายเกินกว่าที่จะดำเนินชีวิตปกติได้ หากเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ไม่สามารถไปหาทันตแพทย์ได้ตามปกติอาจส่งผลเสียยิ่งขึ้น ทางที่ดีควรใส่ใจสุขภาพช่องปากและฟันในเหมาะสม และไปตามนัดของการตรวจสุขภาพช่องปาก หรือการขูดหินปูนทุก 6 เดือน หากปล่อยไว้อาจส่งผลให้เกิด การอักเสบของเหงือกและอาจส่งผลกระทบต่อฟันรวมถึงกระดูกหุ้มฟันได้ การปล่อยให้มีคราบหินปูนล้วนเป็นการสะสมของแบคทีเรีย หากปล่อยไว้อาจส่งผลต่อการอักเสบ มีกลิ่นปากได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

  • พญ.ทฤตมน รัตนประภาต ศูนย์เบาหวานและต่อมไร้ท่อ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสุขุมวิท
  • พญ.สุกานดา เป็งยศ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลสุขุมวิท

 

พญ.ทฤตมน รัตนประภาต

พญ.ทฤตมน รัตนประภาต
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านระบบต่อมไร้ท่อและเบาหวาน

พญ.สุกานดา เป็งยศ

พญ.สุกานดา เป็งยศ
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านอายุรกรรมโรคหัวใจและหลอดเลือด


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ศูนย์ตรวจสุขภาพ
ชั้น 6 โรงพยาบาลสุขุมวิท
เปิดบริการทุกวัน 07.00 - 17.00 น.
โทร. 02-391-0011 ต่อ 225, 227

ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK