ชายวัยกลางคน วูบขณะออกกำลังกาย รพ.สุขุมวิทค้นหาสาเหตุ จนพบสาเหตุ หลอดเลือดหัวใจเส้นหลักตีบ

หลอดเลือดหัวใจเส้นหลักตีบ

ชายวัยกลางคน วูบขณะออกกำลังกาย รพ.สุขุมวิทค้นหาสาเหตุ จนพบสาเหตุ หลอดเลือดหัวใจเส้นหลักตีบ

หนุ่มใหญ่วัย 50 ปีออกกำลังกายเป็นประจำ โดยก่อนเกิดเหตุการณ์วูบกลางฟิตเนต ออกกำลังกายโดยการเล่นเวทในฟิตเนสเซ็นเตอร์แห่งหนึ่งภายใต้การดูแลของผู้ฝึกสอน โดยขณะที่ออกกำลังกายช่วงบนโดยใช้แขน 2 ข้างยกน้ำหนักเป็นจังหวะที่เกิดอาการหน้ามืดซึ่งผู้ฝึกได้เข้าช่วยโดยพยายามประคองให้นิ่งอยู่ในท่านั่งไว้ก่อนเนื่องจากเกรงว่าจะหมดสติไปเลย แต่ก็รั้งไม่อยู่เพราะเจ้าตัวได้วูบหมดสติไปในที่สุดจึงได้เรียกรถพยาบาลมารับตัวนำไปส่งโรงพยาบาลสุขุมวิท โดยได้เข้ารับการตรวจเบื้องต้นทั้งการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจควบคู่กับการทำอัลตร้าซาวน์หัวใจ แต่ด้วยเหตุที่ไม่ได้ปรากฏอาการแน่นหน้าอกรวมทั้งผลการตรวจทั้ง 2 อย่างก็มิได้มีสิ่งผิดปกติแต่อย่างไร ทำให้คุณหมอที่ห้องฉุกเฉินได้ขอติดเครื่องติดตามวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมงที่โรงพยาบาลเพื่อติดตามผลอย่างละเอียดกับคุณหมอที่ “ศูนย์โรคหัวใจ รพ.สุขุมวิท” ในวันรุ่งขึ้น...


“คุณภูมิรัศมิ์ เกษมสมบูรณ์ชัย”

“... ปกติผมเป็นคนที่ไม่มีปัญหาทางด้านร่างกายเลยครับ แล้วก็ที่ผ่านมาเนี่ยพยายามลดปริมาณของหวานกับแป้ง เพราะว่าเป็นคนชอบทานแต่ก็ยังลดไม่ได้มาก น้ำหนักก็ลงมานิดหนึ่งแต่ลงไม่เยอะ พยายามควบคุมน้ำหนักอยู่โดยช่วงที่ผ่านมาเริ่มออกกำลังกายที่ยิมมากขึ้นไปฟิตเนส ซึ่งเป็นที่มาให้รู้ว่าเกิดโรคหัวใจขึ้นกับตัวเอง... และเมื่อถึงเวลานัดในวันรุ่งขึ้นก็ได้ไปรับการตรวจโดยคุณหมอนิวิธซึ่งหลังจากดูผลการตรวจตอนที่ถูกนำส่งมาแล้ว ผลการตรวจอย่างอื่นรวมทั้งเครื่องติดตามมันปกติ แต่อาจมีประเด็นการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติในช่วงที่บีบรัดมากขึ้น จึงขอให้วิ่งสายพานทดสอบ ซึ่งผมเคยได้ยินจากคนที่เคยมีปัญหาแบบเดียวกันนี้ว่าไปทดสอบวิ่งสายพานได้ไม่ถึง 5 นาทีก็ล้ม แต่ของผมเองช่วงที่วิ่งไม่มีอาการหน้ามืด แต่พอวิ่งไปเรื่อย ๆ คุณหมอก็เริ่มเห็นว่าหัวใจทำงานผิดปกติเลยให้หยุดเพราะน่าจะเกิดการตีบของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ และบอกว่าคงต้องทำการฉีดสีเพื่อดูว่าจุดที่เกิดการตีบอยู่บริเวณใด และหลังจากการฉีดสีแล้วได้ผลออกมาว่ามีการตีบของเส้นเลือดหลักที่ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งคุณหมอได้แจ้งว่าถ้าการตีบไม่ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาโดยการขยายบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเมื่อการตีบมีอยู่แค่ 50 เปอร์เซ็นต์ สามารถทานยา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพได้ คุณหมอก็บอกให้ทราบว่าจากนี้ไปยังออกกำลังกายเหมือนเดิมได้แต่อย่าหักโหม ต้องควบคุมไม่ให้เกิดภาวะอาการใช้หัวใจมากเกินไป พยายามควบคุมอาหารการกินโดยงดของหวาน ไม่กินของจุกจิกนอกมื้อ ลดน้ำหนักและพักผ่อนให้มากขึ้น ผมว่าโชคดีมากเลยที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลสุขุมวิทแห่งนี้ได้ทันการ ปกติแล้วเป็นคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องแน่นหน้าอก หรือเกิดภาวะหน้ามืด ก็ทำให้รู้สึกว่าตัวเองแข็งแรง แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นข่าวคนมีอาการทันทีและเสียชีวิตไปเลย โดยอาจจะเนื่องมาจากอาหารการกิน การพักผ่อน หรืออื่นๆ ทำให้คนที่รู้จักหลายคนต้องจากไปเพราะเหตุนี้และไม่อาจรักษาได้ทัน ซึ่งโชคดีได้รู้ตัวก่อนในครั้งนี้อย่างน้อยก็ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้ดีให้ระวังมากขึ้นกว่าเดิม ผมว่าการตรวจทดสอบด้วยการวิ่งสายพาน EST เพื่อตรวจดูสมรรถภาพหัวใจของตัวเองนั้นมีประโยชน์มากๆ ยิ่งอายุมากขึ้นอย่างกรณีผมถ้าได้ตรวจโดยการวิ่งสายพานจะช่วยให้รู้ว่าการทำงานของหัวใจปกติหรือไม่ ผิดปกติอย่างไร เราจะได้ใช้ชิวิตได้โดยไม่ประมาท หลังจากที่ผมเจอกับตัวเองแล้วได้ไปศึกษาข้อมูลทำให้รู้ว่ามันเกิดขึ้นกับทุกเพศทุกวัย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีอายุมาก คนอายุน้อยก็มีโอกาสที่เป็นได้ครับ...”

ขอบคุณคุณหมอวินิธ ที่โรงพยาบาลสุขุมวิทแห่งนี้ ที่ช่วยค้นหาสาเหตุจนเจอและได้รับคำแนะนำในการใช้ชีวิต และออกกำลังกายได้เป็นอย่างดีครับ


“นพ.นิวิธ กาลรา...แพทย์อายุรกรรมหัวใจและหลอดเลือด” ประจำ “โรงพยาบาลสุขุมวิท”... ได้สรุปถึงกรณีของ “คุณภูมิรัศมิ์” ว่าจากการตรวจในขั้นตอนการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจพบว่ามีหลอดเลือดเส้นหลักหัวใจที่เรียกว่า LAD มีอาการตีบประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จึงนำมาอธิบายโดยรวมได้ว่ากรณีที่ผู้ป่วยมีการออกแรงหนักมาก ๆ เช่น ยกเวท หรือไปวิ่งระยะไกลที่นานเกิน 10 นาทีจะมีโอกาสเกิดอาการวูบ เวียน แล้วก็แน่นหน้าอกขึ้นมาได้ และจากนั้นสามารถอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความเสี่ยงที่จำเป็นต้องมาบริหารพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเฝ้าระวังโดยนอกจากจะมีเรื่องของเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แล้วยังมีเรื่องของไขมันในเลือดสูง แต่ถึงอย่างไรคนไข้ยังไม่ต้องรับการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากปริมาณการตีบไม่มากแม้จะออกอาการให้เห็น แม้จะขยายหลอดเลือดไปก็อาจไม่ได้ประโยชน์มากเท่ากับการคอยเฝ้าติดตามอาการเป็นระยะ ๆ พร้อมกับสอนเทคนิคการออกกำลังอย่างถูกหลักเพื่อจะไม่ทำให้เกิดอาการแบบนี้เกิดขึ้นมาได้อีก และในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่ามากหรือ น้อย การทำกายภาพบำรุงหัวใจ (Cardia Rehab) มีส่วนช่วยลดอาการ และ เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้อย่างดี

“...กรณีที่เกิดอาการแล้วเราไม่มั่นใจ ผมแนะนำให้ไปพบแพทย์ที่ดูแลเราอยู่เป็นประจำอยู่แล้ว หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือถ้าสะดวกก็มาตรวจที่ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลสุขุมวิทได้...โดยเฉพาะในกลุ่มที่คิดและมั่นใจว่าออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้ามีอาการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เราออกกำลังกายได้ไม่เท่าเดิม แม้จะเป็นเพียงเล็กน้อยก็ไม่ควรปล่อยผ่าน เพราะว่าการดูแลร่างกายของเรานั้นถ้าจะเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับการดูแลรถที่บ้าน คือเวลาที่มันเสียน้อย ๆ มันซ่อมง่าย ซ่อมสั้น ไม่ต้องอยู่อู่นาน แล้วก็ซ่อมไม่แพง แต่ถ้าเราขืนทู่ซี้ขับแบบพัง ๆ ไปเรื่อย ในที่สุดมันก็ต้องไปซ่อมอยู่ในอู่เป็นเวลานาน ซ่อมยาก แล้วก็แพง ดังนั้นต่อให้มีอาการเพียงเล็กน้อยผมก็มักจะแนะนำว่าควรไปตรวจเพื่อให้มั่นใจเพื่อที่เราได้ออกกำลังกายกันอย่างมั่นใจ ดูแลสุขภาพตัวเองได้ถูกต้อง นอกจากนั้นก็ควรศึกษาข้อมูลที่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโภชนาการ การพักผ่อนนอนหลับซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคในอนาคตให้น้อยลง...”



นพ. นิวิธ กาลรา

นพ. นิวิธ กาลรา
แพทย์ผู้ชำนาญการโรคหัวใจ และหลอดเลือด




สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: ศูนย์โรคหัวใจ
ชั้น1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
เปิดบริการทุกวัน
เวลา 07.00 - 20.00 น. โทร. 02-391-0011 ต่อ 145, 155
เวลา 20.00 - 07.00 น. โทร. 02-391-0011 ต่อ 753, 755


ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล:

   
VAR_INCL_CK