ถึงหัวใจตีบสนิทเราก็แก้ไขได้ไม่มีทางตัน

ถึงหัวใจตีบสนิทเราก็แก้ไขได้ไม่มีทางตัน

เส้นเลือดหัวใจอุดตันไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป งั้นเส้นเลือดหัวใจตีบสนิทล่ะนั่นยิ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกเช่นกัน เพราะวันนี้เราได้มาฟังสัมมนากับ รศ.นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดหัวใจระดับท็อปในเมืองไทย เขามาบอกให้ว่า...ถึงหัวใจจะตีบสนิท 100% ก็แก้ไขได้ สบายมาก ด้วยประสบการณ์ด้านหัวใจเต็มเปี่ยม

ทำเสร็จแล้ว จะรู้สึกว่าหนุ่มขึ้นอีก 10 ปี จะรู้สึกว่าทำไมตอนนี้ไม่เหนื่อยเหมือนก่อนแล้ว

คือสิ่งที่อาจารย์วสันต์พูดถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้อย่างน่าอัศจรรย์ อย่างการทำ CTO หรือการขยายเส้นเลือดหัวใจที่ตีบสนิทนั่นเอง อาจารย์วสันต์เล่าต่อว่า “จริงๆ แล้วเทคนิคในการทำบอลลูนเส้นเลือดอุดตัน 100% ในประเทศไทยนี้ เราได้เรียนจากอาจารย์ ดร.มิซูโดะ มาเยอะมาก ท่านเป็นหมอจากญี่ปุ่นที่โด่งดังมากในระดับประเทศนานาชาติเลย แม้แต่อดีตประธานาธิบดีไต้หวันก็ยังผ่านการทำจาก ดร.มิซูโดะ ท่านมาที่ประเทศไทยทุกปี จากประมาณเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ท่านเคยมาช่วยผมทำ Cases ในทุกๆ ปี นั่นทำให้ผมได้เรียนรู้จากท่านเยอะมาก ยังมีหมออีกท่านหนึ่งคือ ดร.นากามูระ ท่านก็มาประเทศไทยบ่อยมาก อายุก็ใกล้เคียงกันกับผมถือได้ว่าเราเป็นพี่น้องกัน และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันค่อนข้างเยอะ”

ถึงจะตีบ 100% การรักษาก็แก้ไขได้เกือบ 100% เช่นกัน

ในผู้ป่วยหัวใจตีบ 100% นั้น อาจารย์วสันต์ยืนยันว่า “ในปัจจุบันมีความสำเร็จในการรักษาอยู่ที่ 96-98% เลย เทคนิคจริงๆ คือ เราต้องรู้จักอุปกรณ์ และอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดนั้นเรียกว่า “ไกด์วาย” เหมือนลวดบางๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 0.014 นิ้วเท่านั้น สามารถใส่เข้าไปได้ตามซอกหรือเลาะไปตามทางเส้นเลือดได้ เทคนิคสำคัญคือการดัดไกด์วายให้มันโค้งงอแล้วก็ดัดโค้งที่สองตรงนี้อีกนิด แล้วเวลาเราหมุนไกด์วายหากว่าเราดัดเยอะไป เวลาหมุนก็จะหมุนเป็นวงกว้าง ถ้าเราดัดเล็กๆ หมุนก็จะเป็นวงแคบ

“การสวนหัวใจที่ทำนานที่สุดที่ทำมาก็คือ 7 ชั่วโมง แล้วเราทำได้สำเร็จ เพราะฉะนั้นในปัจจุบันเราสามารถบอกได้เลยว่า 97% สามารถทำได้สำเร็จด้วยแพทย์ผู้ที่เชี่ยวชาญจริงๆ และผู้ป่วยยังสามารถมีชีวิตได้ยืนยาวกว่าผู้ที่ไม่ทำอีกด้วย”

นี่คือหลักการที่ทำให้เรา Control ไกด์วายได้ว่าจะให้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวา หรือไปทางไหนอย่างไร”

การรักษาสำเร็จได้ ด้วยแพทย์ที่ชำนาญและประสบการณ์สูง

อาจารย์วสันต์ย้ำว่าแพทย์ผู้รักษาจะต้องเชี่ยวชาญในเครื่องมือและสั่งสมประสบการณ์มามากพอ จะเป็นผลให้การรักษาหัวใจตีบสนิทด้วยไกด์วายนั้นได้ผล “เนื่องจากไกด์วายเป็นเส้นลวด ทำให้บางคนมีคำถามว่า “แล้วแยงเข้าไปมันไม่ทะลุเหรอ?” คำตอบก็คือก็ ความแข็งของไกด์วายจะต้องแข็งมากกว่าไขมันที่อุดตัน แต่จะต้องไม่แข็งไปกว่าผนังหลอดเลือด ที่เราเห็นว่ามันอุดตันนั้นความแข็งของมันนั้นไม่ถึงขนาดหิน เพราะส่วนใหญ่มันคือก้อนเลือดที่ค่อยๆ มาอุดตันแล้วแข็งตัวมากขึ้นๆ เพราะฉะนั้นลักษณะตรงนี้ Resistant ในส่วนนี้ที่เห็นอุดตันมักจะนิ่มกว่าผนังหลอดเลือด เราก็ต้องใช้ไกด์วายที่แข็งกว่าตัวที่ตัน แต่ว่าไม่แข็งกว่าผนังมันก็จะไม่ทะลุออกไป แต่ไกด์วายในปัจจุบันมีความแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ มีบ้างที่เกิดการทะลุ แต่รูที่ทะลุจะเป็นรูขนาด 0.014 นิ้ว และตอนนี้พัฒนาให้มันเล็กลงไปอีกเหลือเพียง 0.010 หรือ 0.009 นิ้ว เพราะฉะนั้นรูที่ทะลุก็จะเล็กๆ แต่ถ้าทะลุในรูที่ตันก็จะไม่มีปัญหามาก และส่วนใหญ่ถ้าจะทะลุเรามักจะรู้เพราะเราจะต้องผ่านตรงผนังที่เหนียวแน่นมากขึ้น ดังนั้นต้องใช้ประสบการณ์ คนที่ทำใหม่ๆ จะไม่รู้พอเวลาใส่ไกด์วาย เข้าไปแล้วตรงนี้มี Resistant สูงหรือไม่สูง ซึ่งเราต้องสะสมประสบการณ์ไปสักพักก็จะรู้สึกถึงตัวไกด์วายได้ว่าตอนนี้เราไปจิ้มอยู่ในไหน ในส่วนที่มันอุดตันอยู่หรือในส่วนผนังส่วนแข็งๆ เราจะรู้สึกได้ และต้องฝึกจนกระทั่งชำนาญ” อาจารย์วสันต์กล่าวทิ้งท้ายว่า

“เครื่องมืออะไรก็แล้วแต่ เราจะต้องรู้จักให้ดี เพราะสิ่งที่สำคัญก็คือคนที่ใช้เครื่องมือ ซึ่งคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะประโยชน์ของการทำ CTO นั้นมีชัดเจนอยู่แล้ว คือทำแล้วอาการดีขึ้นแน่นอน แล้วก็มีการศึกษาเทียบกันว่าคนที่ทำสำเร็จ กับคนที่ไม่ทำ คนที่ทำสำเร็จมีชีวิตยืนยาวมากกว่า รวมไปถึงแพทย์เองที่ทำมาแล้วก็มีชีวิตที่ดีขึ้นเช่นกัน”

เรียบเรียงโดย :
ศูนย์ : ศูนย์หัวใจ
ปรึกษาอายุรแพทย์ โรคหัวใจและหลอดเลือด : 02-391-0011

VAR_INCL_CK