ปวดประจำเดือน (DYSMENORRHEA)

อาการปวดท้องในช่วงเวลาที่มีประจำเดือนของสตรี อาจจะเริ่มปวดเมื่อใกล้ ๆ จะมีประจำเดือน หรือปวดขณะมีประจำเดือน อาการปวดอาจจะเพียงเล็กน้อยพอทนได้ หรือถึงขั้นปวดมากจนรบกวนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องการการบำบัดรักษา

ในทางการแพทย์จะแยกผู้ป่วยที่มีการปวดประจำเดือนนี้เป็นสองกลุ่มใหญ่ ให้เหมาะในการจัดการที่จะจะบำบัดรักษา ดังนี้

  • กลุ่มปฐมภูมิ (PRIMARY DYSMENORRHEA) ในกลุ่มนี้ อาการปวดไม่มีสาเหตุจากพยาธิสภาพทางกายมาเกี่ยวข้อง อาการปวดมักจะเริ่มเป็นในช่วงปีแรก หลังจากเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก
  • กลุ่มทุติยภูมิ (SECONDARY DYSMENORRHEA) ในกลุ่มนี้อาการปวดเกี่ยวเนื่องกับพยาธิสภาพทางกาย เช่น มีถุงน้ำ หรือเนื้องอก บริเวณมดลูก ปีกมดลูก หรือ ในอุ้งเชิงกราน (PELVIC INFLAMATORY DISEASE) อาการปวดจะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงอายุใดก็ได้

อาการปวดประจำเดือนที่พบ

มักจะเป็นการปวดตื้อ ๆ หรือปวดบิด ๆ เป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อย บางรายอาจจะปวดร้าวไปถึงหลัง และบริเวณต้นขา นอกจากนั้นบางราย อาจมีอาการอื่น ๆ นอกจากปวดท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีระษะ ถ่ายเหลว บางรายปวดมากจนเหงื่อไหล

สาเหตุของการปวด

เนื่องจากมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อของมดลูก เพื่อขับเลือดประจำเดือนออกมา พบว่า ในช่วงเวลามีประจำเดือน ร่างกายได้สร้างสาร PROSTAGLANDIN ออกมามากขึ้น สารนี้จะไปออกฤทธิ์ กระตุ้นให้มีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก

ปัจจัยเพิ่มความเสื่ยงต่อโอกาสเกิดการปวดประจำเดือน มักจะพบได้มากขึ้นในกลุ่มสตรีเหล่านี้

  • อายุน้อยกว่า 20 ปี
  • เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย ( ต่ำกว่าอายุ 11 ปี )
  • มีเลือดประจำเดือนออกมาก ( MENORRHAGA )
  • มีความเครียด หรือมีอาการซึมเศร้า ( ANXIETY , DEPRESSION )
  • อยู่ในระยะเวลาที่พยายามจะลดน้ำหนัก ( โดยเฉพาะ อายุ 14 – 20 ปี )
  • ยังไม่เคยมีบุตร
  • สูบบุหรี่จัด

อาการปวดประจำเดือนนั้น บางรายปวดไม่มากพอทนได้ แต่บางรายปวดมากจนไม่สามารถประกอบกิจกรรมของชีวิตประจำวันได้ และบางราย อาการปวดมากขึ้นตามอายุที่มากขึ้น เช่นนี้ ควรไปพบแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำ และบำบัดรักษา และในกลุ่มทุติยภูมิ แพทย์จะตรวจวิเคราะห์หาพยาธิสภาพที่ซ่อนเร้นอยู่ เพื่อจะได้ให้การบำบัดรักษาได้ผลดี ในการตรวจวิเคราะห์ แพทย์จะสอบถามประวัติการปวด และอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ที่ผ่านมา แพทย์จะทำการตรวจภายใน เพื่อหาความผิดปกติใด ๆ ในระบบสืบพันธ์ ( มดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ ) รวมทั้งตรวจการติดเชื้อจากโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ( SEXUAL TRANSMITTED DISEASES ) ด้วย ในผู้ป่วยบางรายแพทย์ อาจจะแนะนำการตรวจละเอียดอื่น ๆ เพิ่มเติม อาทิเช่น

  • การตรวจ KEHASOUND , COMPUTERIGED TOMOGAPHY ( CT SEAN ) หรือ MRI ( MAGNETIC RESONANCE IMAGING )
  • LAPAROSCOPY คือ การส่องกล้องเข้าไปตรวจภายในช่องท้อง และอุ้งเชิงกราน
  • HYSTERO SCORY คือ การส่องกล้องตรวจในโพรงมดลูก

การบำบัดรักษา

  • ในกลุ่มปฐมภูมิ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับพยาธิสภาพทางกาย นั้นการให้ยาแก้ปวด และการพักผ่อน ก็สามารถทำให้อาการปวดลดลงได้มาก หรือหายปวดได้ ยาที่ใช้จะอยู่ในกลุ่ม ยาแก้ปวดทั่วไป หรือ NSAID หรือ AUH PROSTAGLANDIN และในระยาว แทพย์อาจใช้ยาคุมกำเนิด รับประทานต่อเนื่องระยะหนึ่ง ยาคุมกำเนิดจะลดการสร้าง PROSLNCLANAM ของร่างกาย ก็จะมีผลให้อาการปวดประจำเดือนน้อยลง
  • ในกลุ่มทุติยภูมิ นั้นมีพยาธิสภาพทางกายต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น
  • ENDOMETRIOSIS คือการที่มีเซลล์ของเยื่อบุมดลูก หลุดไปอยู่ภายนอกมดลูก เช่น ที่รังไข่ ท่อรังไข่ หรือในบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ADENOMYOSIS คือมีเซลล์เยื่อบุมดลูก เจริญเข้าไปในส่วนของผนังมดลูก ซึ่งเป็นชั้นของกล้ามเนื้อ
  • PID คือ มีการติดเชื้อภายในอุ้งเชิงกราน ส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่ติดต่อโดยเพศสัมพันธ์ (STD)
  • การใส่ห่วงอนามัยคุมกำเนิด (IUD) พบได้ในบางรายที่ใส่ห่วงคุมกำเนิด และมักจะมีอาการปวดในช่วงเดือนแรก ๆ หลังใส่ห่วงคุมกำเนิด
  • เนื้องอกของมดลูกที่ดัน หรือยื่นล้ำเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งแพทย์จะให้การรักษาไปตามพยาธิสภาพที่มี เช่นให้ยาปฏิชีวนะตามเชื้อ เอาห่วงคุมกำเนิดออก หรือ อาจผ่าตัดรักษาในบางราย เพื่อกำจัดพยาธิสภาพเหล่านั้น ในกลุ่มที่มีพยาธิสภาพเหล่านี้ อาจมีผลต่อ การเจริญพันธุ์ โอกาสมีบุตรยาก และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้

ทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจจะช่วยเสริมให้การบำบัดรักษาอาการปวดประจำเดือนได้ผลดีขึ้น เช่น

  • การนวด , สปา , การทำสมาธิ , โยคะ
  • การร่วมกิจกรรมบำบัดความเครียด หรือการทำจิตบำบัด เหล่านี้สามารถทำได้ไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ
  • นอกจากนั้น เคยมีการบำบัดการปวดประจำเดือน โดยศาสตร์การฝังเข็มก็ได้ผล แต่ควรทำโดยผู้รู้ และมีความชำนาญอย่างแท้จริง

ในกลุ่มประจำเดือนปฐมภูมินั้น หากสามารถทำกิจกรรมที่ได้ออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ ร่างกายจะหลั่งสาร ENDORPHINE ออกมามากขึ้น จะมีฤทธิ์ลดอาการปวดได้ แต่ต้องมีการพักผ่อนที่พอเพียง รวมทั้งพยายามลดความเครียด และความกังวลด้วย

เรียบเรียงโดย : นพ.วรพล ชีระนานนท์
ศูนย์ : สูติ-นรีเวช
ปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ : 02-391-0011