วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ถอดเสื้อออก นั่งหน้ากระจก เอามือเท้าเอว เอนตัวไปข้างหลัง ตรวจดูขนาดของเต้านมทั้งสองข้างว่าปกติหรือไม่ บางคนอาจมีเต้านมเล็กข้างใหญ่ข้าง แล้วตรวจดูผิวหนังว่ามีบวม แดง บุ๋ม มีสะเก็ด และเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หรือไม่ ตรวจดูนมว่าเท่ากัน มีรอยบุ๋มเพราะถูกดึงหรือไม่ ผู้ที่เป็นเนื้องอก ผู้ตรวจมักพบว่าผิวหนัง หรือ หัวนมบริเวณนั้นบุ๋มลงไป

นอนหงาย เอาหมอนหนุนตรงสะบักข้างที่จะตรวจ ถ้าตรวจข้างซ้ายก่อน ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือศีรษะ (ตามรูปด้านล่าง)

ใช้นิ้วมือขวา 3 นิ้ว คลึงเบาๆ ทางด้านครึ่งในของเต้านม แล้วสูงขึ้นไปจนจรดกระดูกไหปลาร้า ใช้นิ้วมือกดลงไปกับผนังทรวงอก และกระดูกซี่โครง ดูว่าจะมีตุ่มหรือก้อนข้างในหรือไม่ อย่าใช้ 5 นิ้ว คลำลงไปที่เต้านม เพราะอาจจะคลำพบไตนมเป็นก้อน ทำให้เข้าใจผิดเป็นเนื้องอกได้ (ตามรูปด้านล่าง)

ตรวจดูโดยละเอียดเสร็จแล้ว เอามือวางข้างตัว ตรวจด้านนอกของเต้านมให้ทั่วจนถึงรักแร้ โดยหย่อนมือข้างซ้ายดูว่า จะมีก้อนในรักแร้หรือไม

ตรวจทางด้านซ้ายเสร็จ แล้วเอาหมอนหนุนให้สะบักขวา แล้วใช้นิ้วมือซ้ายตรวจเต้านมขวา ทำอย่างเดียวกับข้อ 2

หมายเหตุ :

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำทุกเดือนภายหลังหมดประจำเดือนแล้ว 2 - 4 วัน ถ้าตรวจก่อนมีประจำเดือน จะพลก้อนซึ่งทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเนื้องอกได้ ระหว่างที่ตรวจเต้านม ถ้าพบสิ่งที่ผิดปกติ เช่น มีก้อน (Cyst), มีลำแข้ง (Lump) ควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพื่อทำการตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียดต่อไป

เรียบเรียงโดย : ผศ. ขวัญตา เกิดชูชื่น และคณะ.(2543).
คู่มือปฏิบัติการพยาบาล.(หน้า 456 - 457).กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ธรรมสาร
ศูนย์ : สูติ-นรีเวช
ปรึกษาแพทย์ สูติ-นรีเวช : 02-391-0011