มะเร็งลำไส้ใหญ่ - ทวารหนัก

มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก พบมากที่สุดในมะเร็งทางเดินอาหาร อุบัติการจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ โดยเริ่มจากอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบมากที่สุดในช่วงอายุ 70-80 ปี เป็นสาเหตุการตายรองจากมะเร็งตับ ผู้ชาย-ผู้หญิงพบเท่ากัน 1:1

ความเสี่ยงที่เป็นโรคนี้

  • ทานอาหารกากน้อย, อาหารไขมันสูงเป็นประจำ
  • ทางกรรมพันธู์ ถ้ามีประวัติทางครอบครัวจะมีโอกาสสูงกว่าคนปกติ เช่น โรคติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เช่น ULCERATIVE COLITIS จะมีโอกาสเป็นสูง รองลงมาเป็น CROHN'S DESEASE

คำแนะนำสำหรับตรวจเบื้องต้นในคนที่ไม่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง

  • ให้แพทย์ตรวจทวารหนักด้วยนิ้วในผู้มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ปีละ 1 ครั้ง (ตรวจพบได้ถึง 10% โดยวิธีนี้ในคนไข้ที่เป็นมะเร็ง)
  • ตรวจหาเลือดในอุจจาระสำหรับคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ปีละครั้ง
  • ตรวจโดยกล้อง (Colonoscopy) เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป

คำแนะนำสำหรับการตรวจเบื้องต้นในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง

  • ทำส่องกล้อง (Colonoscopy) หรือสวนแป้ง และอากาศทางลำไส้ใหญ่ (AIR Contras barium enema)
  • การตรวจหาเลือดในอุจจาระ ผู้ใหญ่ทั่วไปจะพบผล Positive ประมาณ 2%
  • 10% ของผู้ป่วยที่ตรวจพบเลือดในอุจจาระ จะเป็นมะเร็งในลำไส้ใหญ่

อาการของผู้เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • ถ้ามีก้อนมะเร็งด้านขวาลำไส้ใหญ่ มีอาการซีด, เพลีย, ทานอาหารแล้วแน่นท้อง มีเลือดสีดำ หรือมองไม่เห็นสีเลือดในอุจจาระก็ได้
  • ถ้ามีก้อนมะเร็งด้านซ้ายของลำไส้ใหญ่ มีอาการปวดท้อง, อาการลำไส้ใหญ่อุดตัน เช่น ท้องอืด, ปวดท้อง, อาเจียน, ไม่ผายลม, ไม่ถ่ายอุจจาระ, ถ่านเป็นเลือดสด

ผลดีของการตรวจพบในระยะเริ่มแรก

จะมีส่วนสำคัญในการรักษา ซึ่งจะให้ผลแตกต่างกันในแต่ระยะ ดังนี้

  • ในระยะขั้นที่ 1 สามารถอยู่ได้ถึง 5 ปี มีถึง 90%
  • ในระยะขั้นที่ 2 สามารถอยู่ได้ถึง 5 ปี มีเพียง 75%
  • ในระยะขั้นที่ 3 สามารถอยู่ได้ถึง 5 ปี มีเพียง 50%
  • ในระยะขั้นที่ 4 สามารถอยู่ได้ถึง 5 ปี มีเพียง 5%
     
  • * มะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่กระจายไปที่ตับ

เรียบเรียงโดย : นพ.เธียรชัย สุวรรณเพ็ญ
ศูนย์ : ศัลยกรรม
ปรึกษาศัลยแพทย์ : 02-391-0011