คืนกลับชีวิตปกติจากปวดหลังเรื้อรัง ด้วยแผลเล็กน้อยกว่า 1 ซม. ด้วยเทคนิคส่องกล้องที่ รพ.สุขุมวิท

ปวดหลัง, ปวดหลังเรื้อรัง, หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท, ผ่าตัดกระดูกฟสันหลัง, ผ่าตัดผ่านกล้อง

ทนทรมานกับอาการปวดหลังมาเป็นเวลานานแล้วค่ะ น่าจะมีสาเหตุจากอุบัติเหตุรถคว่ำเมื่อ 10 ปีที่แล้วและก่อนหน้านี้มิได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากแต่อย่างใดจนกระทั่งกลางปีที่แล้วในช่วงที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ จะรู้สึกเจ็บหลังมากทั้งในขณะที่ลุกยืนรวมทั้งเวลาที่เดินไปไหน ส่วนในเวลากลางคืนก็จะสามารถนอนอยู่ได้แค่ 20 นาทีก็จะเกิดอาการเจ็บถึงกับต้องตื่น และรู้สึกได้ว่าต้องใช้ชีวิตประจำวันอย่างทรมานและไม่มีความสุขทั้ง ๆ ที่ได้ไปปรึกษาแพทย์ ซึ่งได้รับการตรวจพบว่าปัญหาเกิดจาก “หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท”

“...ตอนนั้นคุณหมอให้ทำกายภาพ 10 กว่าครั้ง แต่พอทำแล้วก็ไม่ได้ตอบโจทย์ของการปวดหลังของเรา รู้สึกว่ายิ่งทำมันก็ยิ่งเจ็บค่ะ คุณหมอก็ให้ยามากินเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดแต่ไม่ดีขึ้น จนเมื่อกลางปีที่แล้วก็รู้สึกว่าใช้ชีวิตลำบากยิ่งขึ้นอีก นั่งก็เจ็บ ยืนก็เจ็บ เดินก็เจ็บ นอนก็ทรมาน เลยตัดสินใจว่าเราต้องหาที่พึ่งเพื่อจะได้หายจากอาการนี้และใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติเหมือนเดิมให้ได้...พอดีมีเพื่อนบ้านที่รู้จักกันดีทราบถึงอาการปวดที่เป็นอยู่ ได้แนะให้มาพบคุณหมอพูนศักดิ์ ที่โรงพยาบาลสุขุมวิท ซึ่งเขาทราบหลังจากได้ดูรายการอุ่นใจใกล้หมอ ที่ช่อง MCOT 30 โดยจดชื่อคุณหมอมาให้ด้วยเลย...จึงตัดสินใจไม่รอต่อไปแล้วและได้โทร.ติดต่อที่แผนก Spine Center ขอนัดพบคุณหมอเลยค่ะ พอมาถึงได้รับการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) แล้วทราบว่าหมอนรองกระดูกเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท คุณหมอแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ค่ะที่เรียกว่าการส่องกล้องแบบเอ็นโดสโคป เหมือนที่เพื่อนบ้านเล่าให้ฟังโดยบอกด้วยว่านอนคืนเดียว อีก 4-5 วันก็เดินได้ตามปกติ ทำให้เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ...แล้วก็ไม่ผิดหวังจริง ๆ แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีความกังวลเพราะเคยได้ยินมาว่าทำมาแล้วอาจเดินได้ไม่เหมือนเดิม... แต่วันที่มาหาคุณหมอก็รู้สึกเชื่อใจและมั่นใจ จึงตัดสินใจทันทีไม่มีลังเลค่ะ...” หลังผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน วันรุ่งขึ้นก็สามารถเดินได้ตามปกติ แต่ก็ต้องระมัดระวังโดยไม่เดินรีบเร่งเกินไปค่ะ ส่วนเรื่องอาการเจ็บปวดก็เรียกว่าหายไปเลย จะมีก็แค่เจ็บนิด ๆ หน่อย ๆ ไม่ถึงกับรบกวนการนอนเหมือนที่เราเคยรู้สึกเจ็บทรมาน อาการตรงนั้นเรียกว่าคุณหมอแก้ไขได้ตรงจุด แล้วก็ทำให้เราได้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นและเป็นปกติ โดยได้ทำกายภาพเป็นประจำตามที่คุณหมอแนะนำค่ะ...รู้สึกว่าอุ่นใจใกล้หมอเมื่อได้เจอคุณหมอมีฝีมือ มีความชำนาญด้านนี้โดยตรง ทำให้เรารู้สึกประทับใจ...จะบอกว่าการส่องกล้องไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด พอเราอยู่ในการดูแลของคุณหมอแล้วไม่ต้องห่วงหรือกังวลใด ๆ เลย ตื่นขึ้นมาปุ๊บมันก็ไม่มีความเจ็บปวดอะไรใด ๆ เลย...วันเดียวก็สามารถเดินได้แล้ว

ความเห็นจากแพทย์เจ้าของไข้

หลังจากคนไข้เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และพบว่ามีหมอนรองกระดูกสันหลังข้อที่ 5 ซึ่งอยู่ตรงช่วงเอวมีการเคลื่อนออกมาและปลิ้นออกไปกดทับเส้นประสาทขาข้างซ้ายจึงเป็นผลให้มีอาการปวดร้าวลงขาซ้าย ทำให้มีอาการชาและเริ่มอ่อนแรง ปกติในแง่ของการรักษา แบ่งเป็น 3 ระยะ ๆ

  • แรกคือมีการเคลื่อนน้อยไม่เกิน 25% ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการรับประทานยา การออกกำลังกาย โดยจะแนะนำท่าออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงมาพยุงกระดูกสันหลังไว้ และช่วยให้หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนจะค่อย ๆ ยุบเข้าไป
  • สองแต่ถ้าเป็นมากขึ้นประมาณ 25-50% ก็จะรักษาด้วยวิธีอื่น เช่น การใช้เลเซอร์ การฉีดยาเพื่อลดอาการหมอนรองกระดูกบวม และการทำกายภาพบำบัดที่สามารถช่วยลดอาการ ช่วยแก้ปัญหาให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาหมอนรองกระดูกเคลื่อนระยะกลาง
  • สามแต่หากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนค่อนข้างมากเกิน 50% หรือมีการแตกของตัวหมอนรองกระดูกเข้ามากดทับเส้นประสาทชัดเจน มีการปวดร้าวรุนแรงและมีการอ่อนแรงของขา หรือผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องของปัสสาวะ อุจจาระลำบากขึ้นก็จะเป็นข้อบ่งชี้ว่าผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัด

ในกรณีของ “คุณสุกัญญา” นั้นพบว่าหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกมาเกิน 50% และจำเป็นที่ต้องนำเอาหมอนรองกระดูกที่แตกหรือที่เคลื่อนออกให้พ้นจุดที่กดทับเพื่อให้เส้นประสาทสามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนศัลยแพทย์ต้องทำการเปิดแผลที่หลังเข้าไปตัดกระดูกด้านหลังบางส่วนออกให้สามารถเข้าไปถึงหมอนรองกระดูกแล้วจึงนำหมอนรองกระดูกออกจากตำแหน่งที่กดทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีความเสี่ยงในแง่ที่จะเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาทในการผ่าตัดได้เช่นกัน...แต่ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ของเทคโนโลยีส่องกล้องผ่าตัด Endoscopic Spinal Surgery แผลผ่าตัดส่องกล้องน้อยกว่า 1 ซม. นอกจากจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บน้อย แผลเล็กแล้ว ผู้ป่วยยังจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้นด้วย

“...เคสนี้ถือเป็นการรักษาที่ไม่ยากมากนักนะครับ ประมาณปานกลาง เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่อยู่ที่ข้อที่ 5 ซึ่งเป็นช่องทางใส่กล่องได้ไม่ยากนัก ที่ยากคือตัวหมอนรองกระดูกที่แตกค่อนข้างใหญ่ ทั้งยังไปเบียดเส้นประสาทเอาไว้ ซึ่งเราต้องทำด้วยความระมัดระวังเพราะหากพลาดก็อาจทำให้ขาซ้ายอ่อนแรงมากขึ้น หรือว่าเกิดการชายาวนานได้ ซึ่งกรณีของคุณสุกัญญานี้ หลังผ่าตัดก็หายและฟื้นตัวได้เร็วครับ ไม่มีการบาดเจ็บของเส้นประสาท แผลก็หายได้ตามเวลา สามารถเดินได้เป็นปกติภายในระยะเวลาอันสั้น แต่ถึงอย่างไรก็ได้แนะนำให้คนไข้บริหารกล้ามเนื้อหลังเพื่อให้แข็งแรง และให้ระมัดระวังเรื่องการยกของ หรือพูดง่าย ๆ คือ งดยกของหนักไปประมาณ 3 เดือน รวมทั้งใส่เสื้อรัดเอวประคองป้องกันไว้ราว 2-3 เดือน รอจนกว่าหมอนรองกระดูกที่ผาตัดหายดีก่อน รวมทั้งรอให้กล้ามเนื้อหลังตรงที่ผ่าตัดกลับมาแข็งแรงก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้... ”

คุณสุกัญญา สุกรผลิน วัย 51 ปี


นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส

นพ.พูนศักดิ์ อาจอำนวยวิภาส
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ






สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
ศูนย์โรคกระดูกสันหลัง
ชั้น 1 โรงพยาบาลสุขุมวิท
โทร. 02-391-0011 ต่อ 110, 111



ติดตามรับข้อมูลข่าวสารอัพเดทจากทางโรงพยาบาล: